จีระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ปี2532
"ผืนโลก"
ผลงาน จีระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ปี2532
แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน:
ผืนโลกของเรามีน้ำอยู่ 3ใน4ของโลก
แทนด้วยโทนสีฟ้าใส่เฉดดุจน้ำทะเลสีคราม ที่มีแนวคลื่นกระทบฝั่ง
ส่วนที่เหลืออีก 1ใน4คือ
พื้นที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่ เป็นแผ่นดิน ทะเลทราย ภูเขา และผืนป่า
แสดงให้เห็นว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ
ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่เล็กๆบนโลก
พื้นดินว่าน้อยแล้ว พื้นที่ป่าก็ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่
ถ้าไม่ช่วยกันรักษาไว้ มันจะไม่เหลืออยู่บนโลกอีกต่อไป
อยากให้คนที่ได้พรมนี้ มองมันและระลึกถึงข้อนี้
หลายคนอาจไม่รู้จักว่า "พะบ่ง" คืออะไร? มันอยู่ส่วนไหนของประเทศ? แล้วมันมีความสำคัญยังไงถึงขนาดที่จะต้องสร้างจุดสกัดเพื่อปกป้องพื้นที่นี้ไว้? มาฟัง อ.ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร อธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ ไว้ในงานประมูลพรม "ศิลปะสนามสี พรมสื่อศิลป์ เพื่อผืนป่า" วันที่ 27 ต.ค. 58 ที่ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครกันครับ
นิทรรศการ "ศิลปะสนามสี พรมสื่อศิลป์ เพื่อผืนป่า" มาร่วมชมผลงานพรม 16 ผืน จาก 16 ศิลปิน ที่ร่วมนำเสนอศิลปะแนว Color Field ให้ทุกคนได้รู้จัก
ขอบคุณพี่จี๊ดเป็นอย่างมากครับ ได้ถ่ายภาพกับคนสำคัญของป่าตะวันตก ทั้ง อ.รตยา หัวหน้าเหมียว รวมทั้งหัวเรือใหญ่แห่ง PASAYA คุณชเล-คุณโต้ง และที่สำคัญกับอาจารย์ใหญ่แห่ง สห+ภาพ พี่จี๊ด ครับ
ถึงแม้นิทรรศการ "ศิลปะสนามสี พรมสื่อศิลป์ เพื่อผืนป่า" จะจบไปแล้ว แต่ภารกิจการปกป้องผืนป่ายังไม่จบ ความอุดมสมบูรณ์ เปี่ยมไปด้วยไม้ป่านานาพันธุ์ และสัตว์ป่าหายากในเขตทุ่งใหญ่นเรศวร ยังคงดึงดูดกลุ่มมิจฉาชีพและเหล่านายทุนบางกลุ่มให้เข้ามาบุกรุกตักตวงผลประโยชน์ในผืนป่าโดยมิชอบอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา การสร้างจุดสกัดพะบ่งก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันเหล่ามิจฉาชีพให้เข้ามาบุกรุกได้ยากขึ้น และช่วยรักษาผืนป่าของพวกเราไว้ได้ ใครที่อยากมีส่วนร่วมในการสร้างจุดสกัดพะบ่ง สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการร่วมบริจาคให้มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ผ่านตู้ ATM และเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา ไม่มีค่าธรรมเนียม ครับ
ชมคลิปแรงบันดาลใจศิลปินอีกครั้งได้ที่นี่
27 เมษายน วันสมเสร็จโลก
ลักษณะ
รูปร่างของสมเสร็จ คล้ายกับนำเอาลักษณะของสัตว์หลายๆ ชนิดมาผสมไว้ในตัว เดียวกัน
มีจมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาและยืดหดได้ ลักษณะคล้ายงวงช้างยาวประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ใช้ปลายงวงจับฉวยสิ่งของไม่ได้อย่างงวงช้าง
ลำตัวอ้วนใหญ่ ตาเล็กและ ใบหูตั้งรูปไข่คล้ายกับหมู หางสั้นจู๋คล้ายหางหมี ขาสั้นใหญ่เทอะทะ และมีกีบนิ้วแบนใหญ่คล้าย แรด ทำให้ได้ชื่อเรียกว่า "ผสมเสร็จหรือสมเสร็จ"
สมเสร็จ
ชื่อสามัญ : Malayan Tapir
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tapirus indicus
ประวัติความเป็นมา
ชื่อทางภาษาอังกฤษของสมเสร็จ (Tapir) มีต้นตอมาจากภาษาอังกฤษของพวกอินเดียในบราซิลว่า “Tapi” ถือได้ว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณมากที่ สุดในโลก เช่นลักษณะและจำนวนกีบเท้ากะโหลกศีรษะที่สั้นแคบ และฟันที่ยังไม่พัฒนาอย่างฟันของแรดและม้า มีจำนวนฟัน 42-44 ซี่
บรรพบุรุษ ของสมเสร็จมีต้นกำเนิดอยู่ในแถบซีกโลกเหนือในยุค Miocene มีวิวัฒนาการมาประมาณ 20 ล้านปี ลักษณะของต้นตระกูลสมเสร็จมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก พบว่าลักษณะของสมเสร็จนั้นคล้ายกับสมเสร็จในเอเชียในปัจจุบัน
ปัจจุบัน พวกสมเสร็จจัดอยู่ในสกุลเดียวกันหมดคือ Yapirus จำแนกออกเป็น 4 ชนิด เป็นสมเสร็จของเอเชีย 1 ชนิดคือ สมเสร็จที่พบในประเทศไทยอีก 3 ชนิด มีถิ่นที่อยู่ในทวีปอเมริกา ได้แก่ สมเสร็จบราซิล (T.terretris) พบในแถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริกาใต้ สมเสร็จภูเขา (T.pinchaque) พบในแถบเทือกเขาแอนดิสของอเมริกาใต้ และสมเสร็จเบร์ด (T.bairdi) ในแถบอเมริกากลาง ทั้งนี้ลักษณะของสมเสร็จสายพันธุ์ทางทวีปอเมริกา ขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลคล้ำทั้งตัว ไม่มีเป็นขนสีขาว ช่วงกลางของละองลำตัวอย่างสมเสร็จเอเซีย งวงสั้นกว่า มีแผงขนคอยาวและมีขนาดเล็กกว่าสมเสร็จเอเชียมาก
สมเสร็จจัดอยู่ในพวกสัตว์กีบคี่ เช่นเดียวกับแรดและกระซู่ เนื่องจากมีลักษณะของนิ้วเท้าเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกีบแแข็ง เท้าหลังมีกีบนิ้วข้างละ 3 กีบ คล้ายกับของแรดและกระซู่ แต่เท้าหน้ามีกีบนิ้วข้างละ 4 กีบ
กีบ นิ้วที่ 4 หรือนิ้วก้อยของเท้าหน้ามีขนาดเล็กกว่า และตำแหน่งของกีบแยกอยู่ด้านข้างระดันเหนือกีบนิ้วอื่น ๆ คล้ายเป็นกีบนิ้วส่วนเกินหรือกีบแขนง ปกติจึงไม่ค่อยได้ใช้รับน้ำหนักตัวอย่างกีบนิ้วหลัก 3 นิ้ว ที่เป็นแกนกลางของเท้าหน้า คาดว่าวิวัฒนาการต่อๆ ไปกีบนิ้วที่ 4 นี้ จะค่อย ๆ ลดขนาดหมดไปในที่สุด
นอก จากนี้ส่วนหลังของสมเสร็จจะโก่งนูน ช่วงบั้นท้ายสูงกว่าท่อนหัวประมาณ 10 เซนติเมตร มองดูลักษณะคล้ายสัตว์พิการหลังค่อม ขนตามตัวสั้นเกรียน สีขนตั้งแต่บริเวณรักแร้ไปตลอดท่อนหัวสีดำ ช่วงกลางลำตัวไปถึง บั้นท้าย และเหนือโคนขาหลังสีขาวปลอด ถัดจากโคนขาหลังลงไป ตลอดถึงปลายเท้าสีดำ อย่างท่อนหัว ดูลักษณะคล้ายนุ่งกางเกงในรัดรูปสีขาว
ลูก สมเสร็จแรกเกิดสีขนดำทั้งตัว แต่มีริ้วลายสีขาวทั้งตัวคล้ายลายลูกแตงไทย เมื่อโตขึ้นลายและสีขนเปลี่ยนเป็นแบบตัวโต เต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่เช่นเดียวกับแรดและกระซู่ แต่ไม่มีนอ หรือเขาบนจมูก หนังตามตัว ไม่หนาเป็นรอยพับย่นอย่างแรดและกระซู่ มีแต่แผ่นหนังแข็งหนาบริเวณก้านคอ ทำให้สมเสร็จมุดป่ารกทึบได้ดี และยังช่วยป้องกันอันตรายจากเสือโคร่ง ที่ชอบตะปบกัด ที่ก้านคอของเหยื่อจนคอหักตาย
เท้า หลังของสมเสร็จมีกีบนิ้ว 3 กีบคล้ายแรด เหมาะสำหรับรองรับน้ำหนักตัวของ ช่วงบั้นท้าย ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าท่อนหัว ส่วนเท้าหน้ามีกีบนิ้ว 4 กีบ ลักษณะกีบนิ้วของสมเสร็จ ค่อนข้างแหลมและนิ้วแยกจากกัน ส่วนกีบนิ้วของแรดจะมนป้านกว่าและติดกัน จะแยกกันเฉพาะปลายกีบนิ้ว ลักษณะรอยเท้าของสมเสร็จจึงแตกต่างจากรอยเท้าแรด โดยพิจารณาได้จากรอยระหว่างร่องกีบนิ้ว แต่ละกีบหยักลึกกว่าปกติจะเห็นรอยเท้าหน้ามี 4 กีบ รอยเท้าหลังมี 3 กีบ ปลายกีบแต่ละกีบค่อนข้างยาวแหลม แต่ถ้าเป็นรอยเท้าตามพื้นดินแข็งๆ อาจไม่เห็นรอยกีบนิ้วที่ 4 ของเท้าหน้า เนื่องจากมีขนาดเล็กและแยกยกสูงกว่ากีบนิ้วที่เหลือ
สมเสร็จไทยหรือ สมเสร็จเอเซีย มีขนาดใหญ่กว่าสมเสร็จพันธุ์อเมริกา และโดยเฉลี่ย แล้ว ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดตัวประมาณ 2.2-2.4 เมตร ส่วนสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 250-300 กิโลกรัม
อุปนิสัย
นิสัยทั่วไปของสมเสร็จคล้ายกับแรด ชอบใช้ชีวิตสันโดษตามลำพัง อาศัยอยู่ตามป่าดิบ รกทึบ และเย็นชื้นไม่ชอบอากาศร้อน จึงมักอาศัยอยู่ใกล้ ๆ แหล่งน้ำ ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เชื่อว่า สมเสร็จสามารถกบดานและเดินไปตามพื้นใต้น้ำได้ คล้ายกับฮิปโปโปเตมัสของแอฟริกา แต่ไม่ชอบนอนแช่ปลักโคลนอย่างแรด อีกทั้งมักถ่ายมูลรวมๆ ไว้เป็นที่เป็นทาง
การ ดำรงชีวิตใช้จมูกดมกลิ่นและใช้หูฟังเสียง มากกว่าจะใช้ตามองดู เนื่องจากตามีขนาดเล็ก และอยู่ด้านข้างของหัว สายตาของสมเสร็จจึงไม่ดี มองเห็นภาพได้ไม่ไกลนัก ปกติออกหากินตอนกลางคืน มักไม่ค่อยชอบเดินหากินตามทางด่านสัตว์เก่าๆ แต่จะชอบเลือก หาทางใหม่ โดยการก้มหัวลงต่ำใช้จมูกที่เป็นงวงดมกลิ่นนำทาง และใช้หนังคอที่ด้าน แข็ง ดันมุดเปิดทาง เที่ยวเดินซอกแซกหาแทะเล็มใบไม้ หน่อไม้ และลูกไม้ที่หล่นตามพื้นป่ากิน อย่างเงียบๆ แต่เมื่อถูกรบกวนหรือตื่นตกใจจึงจะร้องเสียงแหลมเบาๆ คล้ายเสียงเด็กเล็ก แล้ววิ่งมุดรกหาทางหนีกลับแหล่งน้ำใกล้ที่สุดอย่างรวดเร็ว สามารถหลบหนีศัตรูลงน้ำ แล้วกบดาน อยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลานานๆ จนพ้นภัยจึงจะโผล่ขึ้นมา
การสืบพันธุ์
ฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ของสมเสร็จอยู่ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ผสมพันธุ์กันในน้ำ ระยะตั้งท้องนาน 390 – 395 วัน ออกลูกท้องละ 1 ตัว ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 6 – 7 กิโลกรัม ลักษณะมีลายพร้อยเป็นลูกแตงไทยทั้งตัว แม่จะเฝ้าเลี้ยงดูลูกจนอายุประมาณ 6 – 8 เดือน ขนาดของลูกจะโตเกือบเท่าแม่ ลายแตงไทยตามตัวจางหายไป เปลี่ยนเป็นสีดำสลับขาวอย่างพ่อแม่ จะย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้อายุประมาณ 2 – 3 ปีขึ้นไป ตัวเมียมักจะมีการผสมพันธุ์และตั้งท้องได้ทุก 2 ปี อายุยืนประมาณ 30 ปี
ที่อยู่อาศัย
สมเสร็จชอบอยู่เฉพาะในป่าที่ร่มครึ้ม ใกล้ห้วยหรือลำธาร
ในประเทศไทยมีพบ แหล่งที่อยู่อาศัยของสมเสร็จแถบภาคตะวันตก บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งถือได้ว่าเป็นเขตการกระจายพันธุ์สูง และเหนือสุดของสมเสร็จถัดใต้ลงมาพบถิ่นอาศัยของสมเสร็จในแถบเทือกเขาถนนธง ชัยและป่าดิบชื้นภาคใต้ทั่วๆ ไปจดประเทศมาเลเซีย
สถานภาพ
ปัจจุบันสมเสร็จเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย (ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535) และอนุสัญญา CITES จัดสมเสร็จไว้ใน Appendix I และเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S. Endengered Species Act.
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์
พวกพรานป่านิยมล่าสมเสร็จเพื่อเอาเนื้อและหนัง เพราะมีขนาดให้ เนื้อรสขาดดี คล้ายเนื้อหมู และนิสัยไม่ดุร้ายเป็นอันตราย จึงล่าได้ง่าย นอกจากนี้การบุกรุกทำลายป่าดิบชื้นของภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อาศัยสำคัญและจำเป็นของสมเสร็จ เป็นผลให้ประชากรของสมเสร็จลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก
ที่มา http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=87%3A2009-11-04-08-10-36&catid=29%3A7-&Itemid=42