AEC

Austronesian อารยธรรม20000ปี และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 1 หมื่นปี ภาษา10000ปี ภาษามลายู มีผู้พูดภาษานี้กว่า 300 ล้านคน ภาพรวมทางภาษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซียและมาเลเซียในบริบทประชาคมอาเซียน โดย อ. กัณหา แสงรายยิ่งยศ k.sangraya@live.com ครูพิเศษสอนภาษาอังกฤษ มลายูและอินโดนีเซีย
(รูปประกอบ1-1 สัญลักษณ์ประชาคมอาเซียน 2015 (พ.ศ. 2558)) ตอนที่ 1 โลกของภาษาออสโตรนีเซียน ภาษามลายู หรือ บาฮาซา มลายู (Bahasa Melayu) ถือเป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian) ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 1 หมื่นปี
และเชื่อว่าผู้คนที่พูดภาษานี้ได้เคลื่อนย้ายจากแผ่นดินใหญ่จีนเข้าสู่เกาะไต้หวัน และจากเกาะไต้หวันสู่เกาะลูซอน ฟิลิปปินส์เมื่อประมาณ 5,000 - 5,200 ปีก่อน
(รูปประกอบ1-2 โลกของชาวออสโตรนีเซียนครอบคลุมเอเชีย-แปซิฟิกเกือบทั้งหมด) จากนั้นได้ขยายตัวไปสู่เกาะบอร์เนียว (บรูไน มาเลเซียตะวันออก และกาลิมันตันของอินโดนีเซีย) หมู่เกาะอินโดนีเซีย และคาบสมุทรมลายู (มาเลเซียและไทย) บางส่วนได้เข้าสู่ภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม ลาว เขมร (กลายเป็นพวกจามและข่าพวกต่างๆ) จำนวนไม่น้อยได้เคลื่อนย้ายไปสู่หมู่เกาะใหญ่น้อยในมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงฮาวาย และทางใต้ไปถึงนิวซีแลนด์ และทางตะวันตกไปถึงเกาะมาดากัสการ์ (ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐมาดากัสการ์) นอกชายฝั่งประเทศโมซัมบิก อาฟริกาตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมามีการค้นพบภาษาไต-กะได (Tai-Kadai) ซึ่งภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มนี้ โดย ดร.พอล เค.เบเนดิกต์ (Dr. Paul K. Benedict) ชาวอเมริกัน ซึ่งทุ่มเทศึกษาด้านภาษาศาสตร์เชิงประวัติ เขายังได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับภาษา ‘ออสโตร-ไท’ (Austro-Tai) เมื่อ ค.ศ. 1942 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาษาออสโตรนีเซียนกับภาษาไต-กะไดบนเกาะไหหลำ (ประเทศจีน) ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยสายเลือด เขาได้แยกภาษาไต-กะได (รวมภาษาไทย) ออกจากตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ต่อมาโลร็องต์ ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้ศึกษาภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) และออสโตรนีเซียนอย่างลึกซี้ง ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ซาการ์ได้ตั้งทฤษฎีตระกูลภาษาจีน-ออสโตรนีเซียน (Sino-Austronesian) โดยดึงภาษาจีน (รวมภาษาไต-กะได) เข้ามาร่วมกับภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(รูปประกอบ1-4 ศิลาจารึกเกอดุกัน บูกิต) ภาษาไทยกับภาษาออสโตรนีเซียน ดร.พอล เค เบเนดิคท์ ได้ศึกษาภาษาในกลุ่มไต-กะได (Tai-Kadai) เขาเชื่อว่า ภาษาไต-กะไดมีความสัมพันธ์กับภาษาออสโตรนีเซียนอย่างใกล้ชิด เขาได้เสนอทฤษฎีภาษาออสโตร-ไท (Austro-Tai) ในหนังสือชื่อ Austro-Thai: Language and Culture, with a Glossary of Roots ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Hraf Press ในปี ค.ศ. 1975 ทำให้สะเทือนไปทั่ววงการภาษาศาสตร์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ ภาษาไทยหรือภาษาไต-กะได จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) แต่เขาจัดภาษาไทยหรือภาษาไท-กะไดเสียใหม่ให้อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian) หรือที่เดิมเรียกว่า ตระกูลภาษามาลาโย-โพลีนีเซียน (Malayo-Polynesian) การจัดภาษาไทยหรือภาษาไต-กะได อันเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ (Tonal languages) มาอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ (Atonal language) ทำให้ทฤษฎีของเบเนดิกต์ในระยะแรกไม่ค่อยมีคนเชื่อถือนัก แม้ว่าเขาจะเพียรอธิบายว่า เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยหรือไต-กะได เป็นผลจากการสัมผัสกับภาษาจีนอย่างหนักหน่วงมานับพันปี ทำให้ภาษาไทยหรือภาษาไต-กะไดเกิดมีเสียงวรรณยุกต์ตามไปด้วย เฉกเช่นเดียวกับที่ภาษาเขมร (ในบางท้องที่) ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เริ่มมีเสียงวรรณยุกต์จากการได้สัมผัสกับภาษาเวียดนาม ซึ่งเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ หรือแม้แต่ภาษาเวียดนามเอง ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติค (Austroasiatic) กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งไม่มีเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามกลับมีเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้เป็นต้น
จากทฤษฎี Austro-Tai ตามความเข้าใจของเบเนดิคต์ ภาษาไทยจึงจัดอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกับภาษามลายูมาเลเซีย ภาษามลายูอินโดนีเซีย ภาษามลายูบรูไน ภาษามลายูสิงคโปร์ ภาษาตากาล็อก (ภาษาฟิลิปปิโน) ภาษาจาม (ในประเทศเวียดนามและกัมพูชา) ภาษามาลากาซี (บนเกาะมาดากัสการ์) ภาษาชวา ภาษาบาหลี ภาษาซุนดา ฯลฯ ในปี ค.ศ.2015 (พ.ศ. 2558) นี้ อาจจะมีนักภาษาศาสตร์ในประเทศประชาคมอาเซียนหันมาสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาต่างๆ ในประชาคมอาเซียนมากขึ้น เชื่อว่าผลงานของนักวิชาการเหล่านี้จะช่วยไขความกระจ่างในเรื่องนี้ ทำให้ความเข้าใจระหว่างกันระหว่างคนไทยกับมลายู อาจจะดีขึ้นมากกว่านี้
ย้อนยุคภาษามลายู ภาษามลายู (Bahasa Melayu) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ในกลุ่มภาษานูซันตารา (Bahasa Nusantara) ซึ่งมีภาษาต่างๆ ประมาณ 200-300 ภาษา ทั้งที่ยังใช้งาน ที่สูญหาย และกำลังจะสูญหายไปในไม่ช้า เฉพาะภาษานูซันตาราสาขาตะวันตก ก็มีภาษาสำคัญๆ อาทิเช่น ภาษามาลากาซี (พูดกันในประเทศมาดากัสการ์ ทวีปอาฟริกา) ภาษาอาเจะห์ (พูดกันทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในทัศนะนักภาษาปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงกับภาษาจามมากเป็นพิเศษ) ภาษามลายู (ภาษาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดนีเซีย) ภาษาชวา ซุนดา บาหลี ดายัก (พูดกันในประเทศอินโดนีเซีย) ภาษาตากาล็อก (ภาษาประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์) และภาษาบิสายะ (พูดกันในประเทศฟิลิปปินส์) ฯลฯ
ภาษามลายูซึ่งกลายเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย บรูไน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และหนึ่งในภาษาประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน รวมกันแล้ว มีผู้พูดภาษานี้เกือบ 300 ล้านคน ถึงแม้จะเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อาทิ ภาษามลายูมาเลเซีย (Bahasa Malaysia) ภาษามลายูอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ภาษามลายู (บรูไนและสิงคโปร์เรียก Bahasa Melayu เฉยๆ); ในจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล ซึ่งมีผู้พูดภาษานี้ในชีวิตประจำวัน เรียกภาษาที่พูดนี้ว่า ภาษามลายู (Bahasa Melayu) หรือภาษายาวี (Bahasa Jawi);
ภาษามลายูจึงนับว่าเป็นภาษาสำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในประชาคมอาเซียน โดยภาษามลายูกลางที่ใช้สื่อสารในปัจจุบันนี้ มีวิวัฒนาการมาจากภาษามลายูถิ่นยะโฮร์-เรียว (Johor-Riau Dialect) ซึ่งใช้เป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่โบราณกาล และมีหลักฐานว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภาษานี้ยังเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารกับชาติตะวันตก ทั้งในฐานะภาษาพูดและภาษาเขียน (โดยใช้ภาษามลายูอักษรยาวี) ทั้งในระดับประชาชนพลเมืองและระดับราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาธยาเอง ภาษามลายู (Bahasa Melayu) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ในกลุ่มภาษานูซันตารา (Bahasa Nusantara) ซึ่งมีภาษาต่างๆ ประมาณ 200-300 ภาษา ทั้งที่ยังใช้งาน ที่สูญหาย และกำลังจะสูญหายไปในไม่ช้า เฉพาะภาษานูซันตาราสาขาตะวันตก ก็มีภาษาสำคัญๆ อาทิเช่น ภาษามาลากาซี (พูดกันในประเทศมาดากัสการ์ ทวีปอาฟริกา) ภาษาอาเจะห์ (พูดกันทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในทัศนะนักภาษาปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงกับภาษาจามมากเป็นพิเศษ) ภาษามลายู (ภาษาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และอินโดนีเซีย) ภาษาชวา ซุนดา บาหลี ดายัก (พูดกันในประเทศอินโดนีเซีย) ภาษาตากาล็อก (ภาษาประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์) และภาษาบิสายะ (พูดกันในประเทศฟิลิปปินส์) ฯลฯ
ภาษามลายูซึ่งกลายเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย บรูไน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และหนึ่งในภาษาประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน รวมกันแล้ว มีผู้พูดภาษานี้เกือบ 300 ล้านคน ถึงแม้จะเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อาทิ ภาษามลายูมาเลเซีย (Bahasa Malaysia) ภาษามลายูอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ภาษามลายู (บรูไนและสิงคโปร์เรียก Bahasa Melayu เฉยๆ); ในจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล ซึ่งมีผู้พูดภาษานี้ในชีวิตประจำวัน เรียกภาษาที่พูดนี้ว่า ภาษามลายู (Bahasa Melayu) หรือภาษายาวี (Bahasa Jawi);
ภาษามลายูจึงนับว่าเป็นภาษาสำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในประชาคมอาเซียน โดยภาษามลายูกลางที่ใช้สื่อสารในปัจจุบันนี้ มีวิวัฒนาการมาจากภาษามลายูถิ่นยะโฮร์-เรียว (Johor-Riau Dialect) ซึ่งใช้เป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่โบราณกาล และมีหลักฐานว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภาษานี้ยังเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารกับชาติตะวันตก ทั้งในฐานะภาษาพูดและภาษาเขียน (โดยใช้ภาษามลายูอักษรยาวี) ทั้งในระดับประชาชนพลเมืองและระดับราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาธยาเอง หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี แม้ว่าคำว่า ‘มลายู’ จะเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ ค.ศ. 1 จากบันทึกของพ่อค้า นักเดินเรือและนักภิมิ-ดาราศาสตร์ชาวกรีก-อียิปต์ เช่น ปโตเลมี (Ptolemy) แต่หลักฐานที่บันทึกคำว่า มลายู ที่มีอายุให้หลังลงมาเพิ่งปรากฏในปี ค.ศ. 644 (พ.ศ.1187) หรือเมื่อกว่า 1,300 ปีล่วงมาแล้ว โดยปรากฏเป็นเอกสารหลักฐานของจีนที่บันทึกถึงราชทูตจากมลายูไปยังราชสำนักจีน อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่บันทึกการใช้ภาษามลายูปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกเกอดุกันบูกิต เมื่อ ค.ศ. 683 (พ.ศ. 1226) หรือในอีก 39 ปีต่อมา ในช่วงนี้ได้มีการค้นพบศิลาจารึกที่ใช้ภาษามลายูรวมทั้งหมด 4 หลัก ได้แก่ 1. ศิลาจารึกภูเขาเกอดุกัน (Kedukan Bukit) จารึกเมื่อ ค.ศ. 683 (พ.ศ. 1226) พบที่ปาเล็มบัง จ.สุมาตราใต้ อินโดนีเซีย 2. ศิลาจารึกตาลัง ตูโว (Talang Tuwo) จารึกเมื่อ ค.ศ. 684 (พ.ศ. 1227) พบที่ปาเล็มบัง จ.สุมาตราใต้ อินโดนีเซีย 3. ศิลาจารึกโกตา กาปูรฺ (Kota Kapur) จารึกเมื่อ ค.ศ. 686 (พ.ศ. 1229) พบที่เกาะบังกา จ. เกอปูเลาวัน บังกา เบอลีตุง อินโดนีเซีย 4. ศิลาจารึกการัง บราฮี (Karang Brahi) จารึกเมื่อ ค.ศ. 686 (พ.ศ. 1229) พบที่ปาเล็มบัง จ. สุมาตราใต้ อินโดนีเซีย ศิลาจารึกซึ่งมีอายุระหว่าง 1,326 - 1,329 ปีก่อนเป็นศิลาจารึกภาษามลายูโบราณ (Bahasa Melayu Kuno) โดยใช้อักษรปัลลาวะ (Pallava) ของอินเดียใต้ ถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นแรกๆ ของภาษามลายูที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมหาราชองค์ใดองค์หนึ่งแห่งมหาอาณาจักรศรีวิชัย (Srivijaya Empire) ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 7 – 13 มีศูนย์กลางอยู่ที่ปาเล็มบัง (อินโดนีเซีย) ลังกาสุกะ (ปัตตานีโบราณ) และไชยา สุราษฎร์ธานี (ประเทศไทย) ตามลำดับ อาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่ทรงอิทธิพลทางด้านการค้า ภาษาและวัฒนธรรมครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขวางไม่ใช่น้อย (โปรดดูแผนที่) อาจกล่าวได้ว่า อาณาจักรศรีวิชัยคือภาพแรกสุดของ ‘ประชาคมอาเซียน’ ในห้วงสหัสวรรษที่แล้วก็ว่าได้ (โปรดอ่านต่อตอนที่ 2)
ผลงานอาจารย์ กัณหา แสงรายา

โลกของภาษาออสโตรนีเซียน ภาษามลายู มีผู้พูดภาษานี้เกือบ 300 ล้านคน
  อ่านเพิ่มเติม

 ภาพรวมทางภาษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในบริบทประชาคมอาเซียน ตอนที่ 2 อ่านเพิ่มเติม

ภาพรวมทางภาษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในบริบทประชาคมอาเซียน ตอนจบ




อ. กัณหา แสงรายยิ่งยศ
นำเที่ยวโลก AEC หลากแง่หลายมุม พร้อมสาระความรู้และบันเทิงแบบเจาะลึก เน้นๆ และครบครัน โดย อ. กัณหา แสงรายยิ่งยศ: k.sangraya@live.com ครูพิเศษสอนภาษาอังกฤษ ภาษามลายู-อืนโดนีเซีย และมลายูศึกษา










อาเซียนหรือ ASEAN ย่อมาจากคำเต็ม Association of Southeast Asian Nations แปลเป็นไทยว่า “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

อ่านเพิ่มเติม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Satun Unesco Global Geopark อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก แห่งแรกของไทย

masjid in satun มัสยิดธรรมประทีปห้วยน้ำดำ