Eri Spun Silk ไหมปั่นอีรี่ โลกสวยผ้าสวยด้วย การย้อมสีธรรมชาติ ไหมอีรี่กินใบมันสำปะหลัง ออกจากรังไหมได้เอง โดยไม่ต้องต้ม คุณค่าด้วยการทอมือ ดูดซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี
เส้นใยทำเครื่องนุ่งห่มนานกว่า 4000 ปีมาแล้ว โดยชาวจีนรู้จักวิธีเลี้ยงไหม
ข้อแตกต่างของ ไหมอีรี่ และ (ไหมหม่อน)
ไหมอีรี่ (eri silk, Philosamia ricini) (ไหมหม่อน (mulberry silk, Bombyx mori))
1.กินใบมันสำปะหลัง (cassava plant)และใบละหุ่ง (กินใบหม่อนเพียงชนิดเดียว)
2.เส้นไยไหมอีรี่แต่จะเป็นเส้นสั้นๆ (มิได้เป็นเส้นยาวเหมือนไหมหม่อน)
3. เส้นใยไหมอีรี่ จัดเป็นไหมปั่น (Spun Silk) (เส้นใยไหมหม่อน จัดเป็นไหมสาว (reel))
ต้องดึงเส้นใยจากรังด้วยวิธีปั่น (spun) แบบเดียวกับการปั่นฝ้าย
(ไม่ได้ใช้วิธีสาว (reel) แบบไหมหม่อน )
4.เส้นใยไหมอีรี่มีคุณสมบัติเฉพาะ คือ มีความหนานุ่มคล้ายผ้าขนสัตว์
แต่ก็ดูดซับเหงื่อและระบายอากาศได้ดี
ทำให้ใส่แล้วรู้สึกอบอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อน
ไม่สากระคายมือ
มีคุณภาพทนทานดีกว่าไหมหม่อน ซักได้ด้วยวิธีธรรมดา ไม่ต้องซักแห้ง
5.เส้นใยจะสานกันหลวม(กว่ารังไหมหม่อน)
6.ปลายข้างหนึ่งค่อนข้างแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีรูเปิดเล็กๆ เพื่อให้ผีเสื้อออกจากรัง
(ต่างจากรังไหมหม่อนซึ่งปิดหมดทุกด้าน)
ดังนั้นจึงไม่ต้องต้มรังตอนที่ยังมีดักแด้ไหมอยู่ในรัง
สามารถตัดเปลือกรัง หรือรอให้ผีเสื้อออกมาก่อนจึงนำรังไปต้ม
เพื่อละลายสารเหนียวที่เคลือบเส้นไหมออกก่อนที่จะนำไปปั่น
คุณสมบัตินี้เป็นข้อดีของไหมอีรี่ คือ ทำให้ไม่ขัดต่อความรู้สึกของผู้ใช้ที่ไม่ต้องการฆ่าตัวไหม
ไม่ทรมานสัตว์ และเป็นงานฝีมือ( handcraft )ลายนูนปุ่มปม นุ่มแบบผ้าขนสัตว์
ย้อมสีธรรมชาติ ซักได้ง่าย ใช้ดีทุกสภาพอากาศ
ชาวต่างชาติจึงให้ความสนใจ
7. ใช้เวลาเลี้ยง15-18วัน (ไหมหม่อนเลี้ยงนานกว่า และเลี้ยงติดต่อกันไม่ได้)
ไหมอีรี่ eri silk, Philosamia ricini
เป็นผีเสื้อกลางคืนในอันดับ Lepidoptera วงศ์ Saturniidae
มีวงจรชีวิต 45-60 วัน
ประกอบด้วยระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ
เป็นไหมชนิดฟักตลอดปี (polyvoltine)
ลำตัวจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองเมื่อพร้อมจะเข้าดักแด้
ลอกคราบ 4 ครั้งก่อนเข้าดักแด้
ส่วนหัวของไหมวัยหนึ่งและสองจะเป็นสีดำ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองโดยมีบริเวณสีดำที่แก้ม
เมื่อถึงวัยสี่และห้า ตัวหนอนมีสีขาว ที่ปล้องอกและท้องแต่ละปล้องมีหนาม 4-6 อันเรียงเป็นแถว
ในวัยที่ห้าหนอนไหมจะกินอาหารมากและตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตัวหนอนโตเต็มที่จะมีขนาดยาว 90-100 มิลลิเมตร
ก่อนจะเข้าดักแด้หนอนไหมจะหยุดกินอาหาร และถ่ายของเสียออกจนหมดกระเพาะ
แล้วตัวหนอนจะเริ่มเดินไปมาเพื่อหาที่เหมาะสมต่อการทำรังเข้าดักแด้
ซึ่งมักเป็นตามซอกมุมที่หลบซ่อนได้จากนั้นจะเริ่มทำรังหุ้มตัวเอง
การคายสารออกมาจากต่อมสร้างเส้นใย (silk gland)
เมื่อถูกอากาศจะแข็งตัวเป็นเส้นใย รังหุ้มตัวเอง
หนอนไหมจะใช้เวลาทำรังเสร็จภายใน 3 วัน
ตัวหนอนจะพักอยู่ภายในรังและเริ่มเข้าดักแด้
ประมาณ10-14 วันต่อมาผีเสื้อจะออกจากดักแด้
ผีเสื้อไหมอีรี่มีขนาดใหญ่ เมื่อกางปีกเต็มที่จะยาวถึง 4-5 นิ้ว
ปีกมีสีน้ำตาลดำและมีเส้นขวางกลางปีกสีขาว
ตรงกลางของแต่ละปีกจะมีรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวสีเหลืองขาวตัดขอบด้วยสีดำสวยงามมาก
ส่วนท้องของตัวผู้จะเล็กกว่าตัวเมีย
การผสมพันธุ์จะเริ่มขึ้นหลังจากผีเสื้อออกจากดักแด้ไม่นาน
ตัวเมียจะวางไข่ตอนกลางคืน และอาจวางไข่ได้ 2-3 คืน
ผีเสื้อไม่บินและไม่กินอาหาร
ไหมอีรี่สามารถเลี้ยงได้ตลอดปีประมาณ 4-5 รุ่นต่อปี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ เลี้ยงได้ทั้งในที่สูงและที่ราบ
และที่อุณหภูมิตั้งแต่ 25 ถึง 45o C (Sarkar, 1988)
การใช้วิธีสาวโดยใช้เครื่องสาวพื้นบ้านแบบไหมหม่อนก็อาจทำได้
แต่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ
เส้นไหมอีรี่สามารถติดสีได้ดีทั้งสีสังเคราะห์
และสีธรรมชาติ เช่น สีเทา(ดิน) สีเหลือง(ดอกดาวเรือง)
ปัจจุบันมีผู้ให้ความสำคัญกับผ้าพื้นเมืองที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติมาก
เพราะให้โทนสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ฉูดฉาด ดูสบายตา และไม่เบื่อง่าย
วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เช่น พืชชนิดต่างๆ ให้สีต่างกัน
ทำให้เกิดความหลากหลายของสีย้อมที่สวยงามต่างกัน
เส้นใยไหมอีรี่ที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากใยมะพร้าว เปลือกประดู่ มะเกลือดิบ
ใบขี้เหล็ก ขมิ้น ใบหูกวาง ใบสบู่เลือด เปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์
เปลือกต้นมะม่วงป่า เปลือกเมล็ดฝางแดง มะเกลือ ใบสมอและครั่ง
จะติดสีได้ดีและสวยงามแปลกตา
ที่สำคัญคือมีจุลินทรีย์ย่อยสลายสีได้ ทำให้ไม่ตกค้างเป็นมลพิษ
จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม
เส้นใยไหมอีรี่มีความคงทนสูง สานกันได้ละเอียด มีความเหนียว
ไม่เปียกน้ำง่าย มีลักษณะเป็นรูเล็กๆ (porous)
สามารถพัฒนาเป็นกระดาษกรองที่มีคุณภาพ
เหมาะสำหรับใช้ในงานวิจัยและทดลองทางวิทยาศาสตร์
เส้นใยไหมอีรี่จึงจัดเป็นไหมปั่น (spun silk)
ซึ่งเส้นไหมปั่นนั้นเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมด้ายปั่นมาก
เพราะเส้นไหมมีความเหนียว ยาว แวววาว สวยงามและราคาดีกว่าเส้นใยฝ้าย
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมไหมปั่นต้องอาศัยวัตถุดิบจากเศษรังไหมหม่อนที่เสียและสาวไม่ได้
ซึ่งมีไม่เพียงพอจะป้อนโรงงานไหมปั่น (สุธรรม 2534)
เส้นใยไหมอีรี่จึงอาจทดแทนความต้องการตรงนี้ได้
เส้นไหมที่ผลิตได้จะมีลักษณะเป็นปุ่มปม
มีความเงามันเล็กน้อยซึ่งสวยงามแปลกตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เส้นใยไหมใช้ทอเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่มีความสวยงาม
แตกต่างจากผ้าทอจากเส้นใยชนิดอื่น
นอกจากนั้นยังเหมาะทำเป็นผ้าม่าน ผ้าปูเตียง ผ้าปูโต๊ะและทอเป็นพรม
รวมทั้งสามารถปั่นเส้นใยด้วยเครื่องจักรในโรงงานผสมกับเส้นใยฝ้ายได้
ทำดอกไม้ประดิษฐ์ และวัสดุสวยงามอื่นๆ
ประเทศไทยส่งออกสินค้าสิ่งทอมากที่สุดประเทศหนึ่ง
โดยพึ่งวัตถุดิบจากเส้นใยฝ้ายเป็นหลัก
แต่ในปัจจุบันการปลูกฝ้ายประสบกับปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรู
ทำให้ไม่สามารถผลิตเส้นใยได้เพียงพอกับความต้องการ
เส้นใยไหมอีรี่เป็นไหมปั่น (spun silk) เช่นเดียวกับฝ้าย
จึงอาจใช้ทดแทนฝ้ายได้ การพัฒนาและส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่ในประเทศไทย
จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมไหมปั่นเพิ่มขึ้น
จากเดิมที่ต้องใช้เศษเหลือจากรังไหมหม่อนที่มีปริมาณจำกัด
ประเทศอินเดียและจีนส่งเสริมการเลี้ยงไหมอีรี่กันมาก
แต่ไม่สามารถเลี้ยงได้ตลอดปี เพราะสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย
ไม่มีแหล่งพืชอาหารที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์
ที่มาข้อมูล https://www.gotoknow.org/posts/441496