TAKSIN KING of Thonbury ตอนที่1 เจ้าพระยานคร(น้อย) โอรสลับพระเจ้าตากสิน
เจ้าพระยานคร (น้อย) หรือเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ตามหลักฐานราชการกล่าวว่าเป็นบุตรพระเจ้าตากสินมหาราช
เพราะปรากฏว่าเมื่อพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เข้ามารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรีได้ถวายธิดาชื่อฉิมแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
และมีน้องสาวมาอยู่ด้วย ได้เป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกคนหนึ่ง
ปลายรัชการบ้านเมืองเกิดกลียุค พระองค์ได้พระราชทานน้องสาวเจ้าจอมฉิมคนนี้แก่พระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) ขณะนั้นมีพระครรภ์อ่อนๆ อยู่แล้ว ครั้นคลอดบุตรเป็นชาย จึงเชื่อกันว่าเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เริ่มเข้ารับราชการในต้นรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใน พ.ศ. 2354 กล่าวคือ เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาว่ามีความชอบชราหูหนักจักขุมัวหลงลืมขอพระราชทานถวายบังคมลาออกจากราชการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุธรรมนตรี ตำแหน่งจางวาง
และทรงตั้งพระบริรักกษ์ภูเบศร (น้อย) เป็นผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช ว่าราชการเมืองนครศรีธรรมราช
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นอย่างดี
ผลงานที่สำคัญๆ ในชีวิตของท่าน ได้แก่
การรวบรวมหัวเมืองไทรบุรีให้อยู่ในพระราชอาณาจักรไทย
ไทรบุรีเป็นหัวเมืองประเทศราชของไทยมาแต่เดิม ตั้งแต่เมื่อครั้งได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมฮินดู-พุทธร่วมกัน
ต่อมาเมื่อมะละกามีอำนาจในคาบสมุทรมาลายู เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 ไทรบุรีได้หันมานับถือศาสนาอิสลาม
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นระหว่างที่ไทยกับพม่าทำสงครามกับไทรบุรีเริ่มใช้นโยบายอิงมหาอำนาจอังกฤษ เพื่อคานอำนาจทั้งไทยและพม่า ทำให้ไทยต้องคิดหาทางดึงอำนาจกลับมา เพราะมิฉะนั้นไทรบุรีก็จะไปเข้าข้างอังกฤษบ้าง พม่าบ้าง ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ไทย
จนเมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองนครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพไปปราบเมืองไทรบุรีอยู่หลายครั้ง จึงได้ไทรบุรีในอำนาจ
ด้านการทูต
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เป็นนักการทูตคนสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 2 – 3
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบในการเจรจาความเมือง และผลแห่งความเป็นนักการทูตผู้มีปฏิภาณได้ทำให้เมืองนครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมาลายูและเป็นที่นับถือยำเกรง
การต่อเรือ
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีความเชี่ยวชาญในการต่อเรือ ได้ต่อเรือกำปั่นหลวงสำหรับบรรทุกช้างไปขายต่างประเทศ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้มากและที่สำคัญคือ
ได้ต่อเรือรบขนาดย่อมไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ต้องใช้กรรเชียง 2 ชั้น เรือรบที่ต่อมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยปรากฏมาก่อน
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้ต่อเรือรบและเรือลาดตระเวนเหล่านี้ที่เมืองตรังและเมืองสตูล
เมื่อ พ.ศ. 2352 – 2355 ครั้งหนึ่ง
อีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2364 – 2366 ได้ต่อเรือรบเป็นอันมากถึง 150 ลำ
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีกองทัพเรือขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองตรัง ประกอบด้วยขบวนเรือทั้งหมดประมาณ 300 ลำ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นกองทัพเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักร
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2382 ขณะเตรียมทัพไปปราบไทรบุรีครั้งสุดท้าย โดยเป็นโรคลมให้อาเจียนน้ำลายเหนียว เสมหะปะทะหน้าอก อาการโรคกำเริบขึ้น และถึงแก่อสัญกรรมในคืนวันนั้น รวมเวลาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช 28 ปี
ที่มา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
ตอนที่2
เพราะปรากฏว่าเมื่อพระยานครศรีธรรมราช (หนู) เข้ามารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรีได้ถวายธิดาชื่อฉิมแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
และมีน้องสาวมาอยู่ด้วย ได้เป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกคนหนึ่ง
ปลายรัชการบ้านเมืองเกิดกลียุค พระองค์ได้พระราชทานน้องสาวเจ้าจอมฉิมคนนี้แก่พระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) ขณะนั้นมีพระครรภ์อ่อนๆ อยู่แล้ว ครั้นคลอดบุตรเป็นชาย จึงเชื่อกันว่าเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาว่ามีความชอบชราหูหนักจักขุมัวหลงลืมขอพระราชทานถวายบังคมลาออกจากราชการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุธรรมนตรี ตำแหน่งจางวาง
และทรงตั้งพระบริรักกษ์ภูเบศร (น้อย) เป็นผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช ว่าราชการเมืองนครศรีธรรมราช
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นอย่างดี
ผลงานที่สำคัญๆ ในชีวิตของท่าน ได้แก่
การรวบรวมหัวเมืองไทรบุรีให้อยู่ในพระราชอาณาจักรไทย
ไทรบุรีเป็นหัวเมืองประเทศราชของไทยมาแต่เดิม ตั้งแต่เมื่อครั้งได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมฮินดู-พุทธร่วมกัน
ต่อมาเมื่อมะละกามีอำนาจในคาบสมุทรมาลายู เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 ไทรบุรีได้หันมานับถือศาสนาอิสลาม
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นระหว่างที่ไทยกับพม่าทำสงครามกับไทรบุรีเริ่มใช้นโยบายอิงมหาอำนาจอังกฤษ เพื่อคานอำนาจทั้งไทยและพม่า ทำให้ไทยต้องคิดหาทางดึงอำนาจกลับมา เพราะมิฉะนั้นไทรบุรีก็จะไปเข้าข้างอังกฤษบ้าง พม่าบ้าง ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ไทย
จนเมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองนครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพไปปราบเมืองไทรบุรีอยู่หลายครั้ง จึงได้ไทรบุรีในอำนาจ
ด้านการทูต
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เป็นนักการทูตคนสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 2 – 3
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบในการเจรจาความเมือง และผลแห่งความเป็นนักการทูตผู้มีปฏิภาณได้ทำให้เมืองนครศรีธรรมราชมีอิทธิพลต่อหัวเมืองมาลายูและเป็นที่นับถือยำเกรง
การต่อเรือ
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีความเชี่ยวชาญในการต่อเรือ ได้ต่อเรือกำปั่นหลวงสำหรับบรรทุกช้างไปขายต่างประเทศ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้มากและที่สำคัญคือ
ได้ต่อเรือรบขนาดย่อมไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ต้องใช้กรรเชียง 2 ชั้น เรือรบที่ต่อมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยปรากฏมาก่อน
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้ต่อเรือรบและเรือลาดตระเวนเหล่านี้ที่เมืองตรังและเมืองสตูล
เมื่อ พ.ศ. 2352 – 2355 ครั้งหนึ่ง
อีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2364 – 2366 ได้ต่อเรือรบเป็นอันมากถึง 150 ลำ
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มีกองทัพเรือขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองตรัง ประกอบด้วยขบวนเรือทั้งหมดประมาณ 300 ลำ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นกองทัพเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักร
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2382 ขณะเตรียมทัพไปปราบไทรบุรีครั้งสุดท้าย โดยเป็นโรคลมให้อาเจียนน้ำลายเหนียว เสมหะปะทะหน้าอก อาการโรคกำเริบขึ้น และถึงแก่อสัญกรรมในคืนวันนั้น รวมเวลาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช 28 ปี
ที่มา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
ตอนที่2