Pulse Generator สร้างคลื่นสัญญาณในรูปแบบต่างๆ เปรียบเสมือนรหัสคำสั่ง Nanopulser สร้างคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงUltrasonic ด้วยกระแสไฟที่คงที่ ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ECU อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคทำงานได้แม่นยำตลอดเวลา ยืดอายุการใช้งานจากปัญหากระแสไฟไม่คงที่

ECU หลักการทำงานคล้าย วิทยุทรานซิสเตอร์ มีการรับส่งสัญญาณ เพื่อถอดรหัสเป็นคำสั่ง ชุดคำสั่งถูกเก็บไว้ในRAM ROM คล้ายCPUคอมพิวเตอร์ ECUได้รับสัญญาณเข้าที่ถูกส่งมาจากตัวรับรู้
ตัวรับรู้อาจส่งสัญญาณเป็นแรงเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ หรือรวดเร็วในรูปแบบที่เป็นคลื่นสัญญาณต่าง ๆ เรียกว่า พัลส์ (Pulses) เช่นคลื่นรูปสี่เหลี่ยม (Square Wave) คลื่นรูปไซน์ (Sine Wave) คลื่นรูปฟันเลื่อย (Sawtooth Wave)
ตัวรับรู้บางแบบส่งแรงเคลื่อนไปที่ ECU แต่บางแบบอาจต่อไฟฟ้าให้ลงดิน (Ground) Sensor มีหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับให้ ECU แล้ว ECU ก็จะแปลงคลื่นสัญญาณนี้ให้เป็น Digital (Analog-to-Digital Converter =ADC) คือการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณให้มีสถานะเป็น 0 (ปิด) กับ 1 (เปิด) เพื่อกำจัดสิ่งรบกวน (noise) และง่ายต่อการนำไปประมวลผล

(Sensors) เช่น ตัวรับรู้ELD (Electrical Load Detector)การตรวจภาระกระแสไฟ (ประโยชน์ ELD มีไว้ ส่งสัญญาณ ให้ ECU รู้ว่า ขณะนี้ เครื่องยนต์มีภาระมากขึ้น เนื่องจาก มีการใช้กระแสไฟภายในระบบ มากขึ้น หรือไดชาร์ทต้องทำงานหนักขึ้น )
Nanopulser Battery Conditioner เป็นวงจรcircuit pulse generator (สามารถกดลิงค์เข้าชมรายละเอียดการจดสิทธิบัตรโลก นวัตกรรมรายเดียวของโลก WO2005/083830)
Nanopulser นอกจากช่วยให้ECU อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคทำงานได้แม่นยำตลอดเวลา ยืดอายุการใช้งานจากปัญหากระแสไฟไม่คงที่ ยังช่วยยืดอายุแบตเตอร์รี่มากกว่า2เท่า จากการสลายตะกั่วซัลเฟตที่แผ่นธาตุให้สะอาด ทำให้แบตเตอร์รี่เก็บไฟได้ดี
Nanopulserสร้างคลื่นความถี่สูงถึง20,000Hz  มีMOSFETSเป็นสวิทซ์ควบคุมการไหลของอิเลคตรอน ที่ทำงานได้รวดเร็วกว่าและมีปัญหาเรื่องความร้อนน้อยกว่าทรานซิสเตอร์      ใช้กระแสไฟเพียง0.025แอมป์ จะช่วยให้ เซมิคอนดักเตอร์ ไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน
(วงจรระบบพัลส์ทั่วๆไป ต่างกันตรงที่ ความถี่ทางไฟฟ้า(Frequency Electricity) และกระแสไฟฟ้า)
การพัฒนาการที่สำคัญของวงการอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1940 หลังจากที่หลอดสุญญากาศแสดงบทบาท ในฐานะอุปกรณ์ควบคุมในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายมาร่วม 3 ทศวรรษ โดยโอลห์ (Russell Shoemake Ohl) ค้นพบว่าผลึกซิลิกอนสามารถจะนำมาสร้างเป็นอุปกรณ์ไดโอดได้ ซึ่งนำไปสู่การคิดค้นทรานซิสเตอร์ของ ชอคลี (William Bradford Schockley) แบรตเทน (Walter H. Brattain) และ บาร์ดีน (John Bardeen)
ในปี ค.ศ. 1948 หลังจากนั้นอุปกรณ์พวกสารกึ่งตัวนำได้เริ่มเข้ามาแทนที่หลอดสุญญากาศ ทำให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีขนาดเล็กลงและราคาถูกลงมากต่อมาได้มีแนวคิด ที่จะทำให้อุปกรณ์ รวมทั้งวงจร ถูกยุบรวมเข้าไปบนสารกึ่งตัวนำที่เป็นชิ้นเดียว และแล้ว ในปี
ค.ศ. 1959 เออร์นี (Jean Hoerni) และ นอยซ์ (Robert Noyce) ก็สามารถพัฒนาแผงวงจรรวมดังกล่าว (Integrated Circuit หรือ IC) ได้สำเร็จ จำนวนของทรานซิสเตอร์ซึ่งบรรจุบนแผ่นวงจรรวม(IC) เรียกว่า ไมโครชิฟMicrochip) และเพียงปีเดียวเท่านั้นแผงวงจรรวมดังกล่าวก็เข้าไปแทนที่อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำแบบแยกส่วนถึง 90% เลยที่เดียว ในช่วงต้นๆ ของทศวรรษ 1960 นั้น วงจรรวมยังไม่มีความซับซ้อนมาก โดยอาจมีทรานซิสเตอร์ประมาณ 20-200 ตัวต่อแผ่นชิพหนึ่งแผ่น และเพิ่มขึ้นมาเป็น 200-5000 ตัวในช่วงปี 1970 ปัจจุบันนี้เรามีแผงวงจรรวมที่มีทรานซิสเตอร์นับล้านตัวเลยทีเดียว
(ภาพวงจรรวม จากIBM) การลดขนาดของทรานซิสเตอร์ สามารถเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์บนแผงวงจรรวม (IC) ขนาดของทรานซิสเตอร์จากขนาดระดับมิลลิเมตร ปัจจุบันมีขนาดเพียง 0.13ไมโครเมตร ทรานซิสเตอร์มีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า
NanoMicrochipไมโครชิฟ ของNANOPULSER เป็นเทคโนโลยีที่แก้ปัญหาของแผงวงจรรวมที่ผลิตจากซิลิกอน(ทราย) ซึ่งมีปัญหาการหลุดของอิเลคตรอน เกิดการรบกวนกันระหว่างทรานซิสเตอร์ ซึ่งอยู่ใกล้กันในระดับ0.05ไมครอนของวงจร


NanopulserTechnology should be shared with the worldNanopulserผลิตด้วยเทคโนโลยีไมโครชิพ เริ่มออกแบบต้นแบบตั้งแต่ปี1998 ได้วิจัยและพัฒนามากว่า17ปี จึงมั่นใจในคุณภาพของนวัตกรรมรายเดียวของโลก 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Satun Unesco Global Geopark อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก แห่งแรกของไทย

masjid in satun มัสยิดธรรมประทีปห้วยน้ำดำ