infographic with piktochart การทำภาพกราฟฟิกเคลื่อนไหวที่ทันสมัย คู่กับศิลปะได้อย่างลงตัว
วันนี้ทดลองการทำภาพกราฟฟิกด้วย piktochart ความรู้สึกครั้งแรก จากการทดลองหา และเริ่มทดลองทำครั้งแรก จะคล้ายกับเกมส์การแต่งตัวให้ตุ๊กตา
จุดเด่นคือ "กลยุทธ์ที่เรียบง่าย ซึ่งโดยทั่วไปมักมองข้าม" กลยุทธ์ที่ดี นอกจากการใช้ความคิดนอกกรอบ เพื่อให้ได้กลยุทธ์ใหม่ๆ ยังสามารถใช้กลยุทธ์แบบเรียบง่ายที่คนส่วนใหญ่มองข้าม แต่ยังแฝงด้วย ศาสตร์และศิลป์ พร้อมผสมผสานเทคนิคทันสมัยเข้าไป เช่น กราฟแบบไดนามิคส์ที่เคลื่อนไหว ขยับได้ให้ดูมีชีวิตชีวา ในท่ามกลางศิลปะที่ชื่นชอบได้ทุกกลุ่มทุกวัย
เช่น ต้องการทำรายงาน นำเสนอเรื่อง"ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัครูพืช"
ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบฯในรายละเอียด ลองมาดูตัวอย่างชีวิตเกษตรกรสักคนกันก่อน
กรณีศึกษา ชีวิตของ ทองคำ สีบุดดา ทองคำ สีบุดดา มีอาชีพทำนา
ซึ่งใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจำนวนมาก ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปทำให้ได้ผลทันใจ พืชใบเขียวโตเร็ว
แต่ต้องใส่สม่ำเสมอขาดไม่ได้ ถ้าไม่ใส่จะเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด
และต้องใส่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดินมันจืดเร็ว
ปุ๋ยเคมีและสารเคมีก็ได้มาอย่างง่ายดาย เพราะไปกู้มาจาก ธ.ก.ส. แต่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เขาให้มาเป็นปุ๋ย พอขายผลผลิตได้ค่อยเอาไปใช้หนี้ เพราะความโลภ อยากเห็นผลเร็วๆ อยากได้เงินมากๆ ก็เลยจมอยู่อย่างนั้น แบบถอนไม่ขึ้น
สารเคมีที่ใส่ลงไปทำให้เกิดการระคายผิวหนังคันทั้งมือทั้งเท้า
ถ้าเป็นแผลอยู่ก่อนแล้วก็ยิ่งหายยาก ตอนนี้ยังเห็นร่องรอยของแผลที่มือและเท้า
เวลาพ่นยาฆ่าแมลงมักเกิดอาการวิงเวียน บางครั้งถึงกับอาเจียนออกมา
ร่างกายทรุดโทรมลลงเรื่อยๆ เพราะสูดเอาสารเคมีเข้าไปมาก
แต่จำเป็นต้องฉีดต่อเนื่องเหมือนกับการใส่ปุ๋ย เพราะหยุดฉีดเมื่อไรหนอนแมลงจะเกิดขึ้นเต็มไปหมด
ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีจะแข็งมากและใช้จอบขุดไม่ได้เลยต้องใช้รถไถอย่างเดียว เพราะสารเคมีทำลายพวกไส้เดือนต่างๆ ที่ช่วยทำให้ดินร่วนซุย
เมื่อดินแข็งจะถอนหญ้าก็ลำบาก ถอนแล้วขาดหมด ไม่ถอนรากถอนโคน
ปูปลาตามหัวไร่ปลายนาที่พอจะหาไปทำกับข้าวก็หมดไปมันอยู่ไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยสารเคมีปนเปื้อน
ทำเกษตรเคมี เพราะได้ผลเร็วก็จริง ได้เงินมากก็จริง
แต่ก็เสียมากเพราะกู้เขามาทั้งนั้น
ข้าวของผักปลาก็ไปซื้อมาจากข้างนอกทั้งนั้น
ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุนทุกปี ทั้งค่าจ้าง ค่าเกี่ยว ค่านวด ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ฯลฯ ตกปีละสองหมื่นบาทเศษ ขายข้าวได้เงินมาเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วแทบไม่เหลืออะไร
เห็นท่าจะไม่ไหวก็เลยหอบลูกจูงหลาน ทิ้งไร่ทิ้งนาเข้ามาทำงานก่อสร้างในกรุงเทพฯ แต่การทำงานก่อสร้างก็ไม่ใช่งานสบาย งานหนักมาก ถูกใช้งานตั้งแต่เช้ายันเย็น ยิ่งในช่วงที่งานเร่งๆ เพราะเจ้านายต้องรีบส่งมอบงาน ก็ต้องทำงานต่อจนดึกดื่น ไม่มีเวลาพักผ่อน ทำอยู่ หลายปีร่างกายจึงทนสภาพไม่ไหว
สุดท้ายก็ต้องจูงลูกจูงหลานกลับมาตายรังเดิม ที่อีสานบ้านนา ต้องบอกว่า ทองคำ สีบุดดา เป็น
เกษตรกรต้นแบบ (ในทางที่แย่)
เพราะมีเกษตรกรไทยนับล้านๆ คนที่มีชีวิตแบบเดียวกับทองคำนี้
นับเป็นความสำเร็จของผู้บงการในระดับโลกที่ทำให้เกษตรกรไทย (และเกษตรกรทั่วโลก) มีแบบแผนชีวิตที่ทุกข์ระทม ไร้ศักดิ์ศรี แบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก แบบแผนชีวิตเกษตรกรข้างต้นมีหลายประเด็นที่ควรมีการวิเคราะห์วิจารณ์กันอย่างจริงจัง
แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่เอกสารฉบับนี้ต้องการวิเคราะห์เจาะลึกเป็นพิเศษ
คือ ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีได้หลายมิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพทางจิตวิญญาณ ที่เกิดขึ้นกับคนไทย ครอบครัวไทย ชุมชนไทย และสังคมไทย ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์ทำหน้าที่ดูแลรักษาการเจ็บป่วยของชาวบ้านคนแล้วคนเล่าที่มาหาด้วยอาการสารพัดอย่าง มานานกว่า 16 ปี เจอคนเจ็บคนป่วยที่มีชีวิตอยู่กับความทุกข์ยากมากมาย มีปัญหาชีวิตรุมเร้าอยู่รอบด้าน เป็นที่น่าเวทนามาก เมื่อได้มีโอกาสลงไปพูดคุยกับชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ก็พบว่า ปัญหาสุขภาพของชาวบ้านเรานั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับ “โรคภูมิคุ้มกันของสังคมบกพร่องอย่างรุนแรง”
ยิ่งเมื่อได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าและเข้าร่วมประชุมวิชาการกับคนที่ทำงานในระดับต่างๆ ก็ยิ่งพบว่า รากเหง้าของปัญหาของชาวบ้านเราเกิดจาก “การเอาเปรียบกันและหลอกลวงกันในระดับโลก” อย่างแยบยลและอย่างเรื้อรังยาวนาน ชาวบ้านเราส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ซึ่งถูกคนภายนอกมากระทำและเอาเปรียบและถูกหลอก คนภายนอกร่ำรวย เสวยสุข ทิ้งไว้แต่ความทุกข์รันทดไว้ให้เกษตรกร ชาวไร่ชาวนาและลูกหลาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานเหมือนถูกสาบแช่งไม่ให้ได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากพลิกฟื้นชีวิตของตนเลย ผมเขียนเอกสารฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการจุดประเด็นการอภิปราย ถกเถียงกันของสมัชชาสุขภาพที่จะมีขึ้น เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจปัญหาที่ลึกซึ้งและร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสม โดยจะเน้นประเด็น ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบฯในรายละเอียด ลองมาดูตัวอย่างชีวิตเกษตรกรสักคนกันก่อน (อ่านข้อมูลข้างบน กรณีศึกษา ชีวิตของ ทองคำ สีบุดดา )
เช่น ต้องการทำรายงาน นำเสนอเรื่อง"ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัครูพืช"
ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบฯในรายละเอียด ลองมาดูตัวอย่างชีวิตเกษตรกรสักคนกันก่อน
กรณีศึกษา ชีวิตของ ทองคำ สีบุดดา ทองคำ สีบุดดา มีอาชีพทำนา
ซึ่งใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจำนวนมาก ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปทำให้ได้ผลทันใจ พืชใบเขียวโตเร็ว
แต่ต้องใส่สม่ำเสมอขาดไม่ได้ ถ้าไม่ใส่จะเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด
และต้องใส่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดินมันจืดเร็ว
ปุ๋ยเคมีและสารเคมีก็ได้มาอย่างง่ายดาย เพราะไปกู้มาจาก ธ.ก.ส. แต่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เขาให้มาเป็นปุ๋ย พอขายผลผลิตได้ค่อยเอาไปใช้หนี้ เพราะความโลภ อยากเห็นผลเร็วๆ อยากได้เงินมากๆ ก็เลยจมอยู่อย่างนั้น แบบถอนไม่ขึ้น
สารเคมีที่ใส่ลงไปทำให้เกิดการระคายผิวหนังคันทั้งมือทั้งเท้า
ถ้าเป็นแผลอยู่ก่อนแล้วก็ยิ่งหายยาก ตอนนี้ยังเห็นร่องรอยของแผลที่มือและเท้า
เวลาพ่นยาฆ่าแมลงมักเกิดอาการวิงเวียน บางครั้งถึงกับอาเจียนออกมา
ร่างกายทรุดโทรมลลงเรื่อยๆ เพราะสูดเอาสารเคมีเข้าไปมาก
แต่จำเป็นต้องฉีดต่อเนื่องเหมือนกับการใส่ปุ๋ย เพราะหยุดฉีดเมื่อไรหนอนแมลงจะเกิดขึ้นเต็มไปหมด
ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีจะแข็งมากและใช้จอบขุดไม่ได้เลยต้องใช้รถไถอย่างเดียว เพราะสารเคมีทำลายพวกไส้เดือนต่างๆ ที่ช่วยทำให้ดินร่วนซุย
เมื่อดินแข็งจะถอนหญ้าก็ลำบาก ถอนแล้วขาดหมด ไม่ถอนรากถอนโคน
ปูปลาตามหัวไร่ปลายนาที่พอจะหาไปทำกับข้าวก็หมดไปมันอยู่ไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยสารเคมีปนเปื้อน
ทำเกษตรเคมี เพราะได้ผลเร็วก็จริง ได้เงินมากก็จริง
แต่ก็เสียมากเพราะกู้เขามาทั้งนั้น
ข้าวของผักปลาก็ไปซื้อมาจากข้างนอกทั้งนั้น
ยิ่งทำก็ยิ่งขาดทุนทุกปี ทั้งค่าจ้าง ค่าเกี่ยว ค่านวด ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ฯลฯ ตกปีละสองหมื่นบาทเศษ ขายข้าวได้เงินมาเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วแทบไม่เหลืออะไร
เห็นท่าจะไม่ไหวก็เลยหอบลูกจูงหลาน ทิ้งไร่ทิ้งนาเข้ามาทำงานก่อสร้างในกรุงเทพฯ แต่การทำงานก่อสร้างก็ไม่ใช่งานสบาย งานหนักมาก ถูกใช้งานตั้งแต่เช้ายันเย็น ยิ่งในช่วงที่งานเร่งๆ เพราะเจ้านายต้องรีบส่งมอบงาน ก็ต้องทำงานต่อจนดึกดื่น ไม่มีเวลาพักผ่อน ทำอยู่ หลายปีร่างกายจึงทนสภาพไม่ไหว
สุดท้ายก็ต้องจูงลูกจูงหลานกลับมาตายรังเดิม ที่อีสานบ้านนา ต้องบอกว่า ทองคำ สีบุดดา เป็น
เกษตรกรต้นแบบ (ในทางที่แย่)
เพราะมีเกษตรกรไทยนับล้านๆ คนที่มีชีวิตแบบเดียวกับทองคำนี้
นับเป็นความสำเร็จของผู้บงการในระดับโลกที่ทำให้เกษตรกรไทย (และเกษตรกรทั่วโลก) มีแบบแผนชีวิตที่ทุกข์ระทม ไร้ศักดิ์ศรี แบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก แบบแผนชีวิตเกษตรกรข้างต้นมีหลายประเด็นที่ควรมีการวิเคราะห์วิจารณ์กันอย่างจริงจัง
แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่เอกสารฉบับนี้ต้องการวิเคราะห์เจาะลึกเป็นพิเศษ
คือ ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีได้หลายมิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพทางจิตวิญญาณ ที่เกิดขึ้นกับคนไทย ครอบครัวไทย ชุมชนไทย และสังคมไทย ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์ทำหน้าที่ดูแลรักษาการเจ็บป่วยของชาวบ้านคนแล้วคนเล่าที่มาหาด้วยอาการสารพัดอย่าง มานานกว่า 16 ปี เจอคนเจ็บคนป่วยที่มีชีวิตอยู่กับความทุกข์ยากมากมาย มีปัญหาชีวิตรุมเร้าอยู่รอบด้าน เป็นที่น่าเวทนามาก เมื่อได้มีโอกาสลงไปพูดคุยกับชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ก็พบว่า ปัญหาสุขภาพของชาวบ้านเรานั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงกับ “โรคภูมิคุ้มกันของสังคมบกพร่องอย่างรุนแรง”
ยิ่งเมื่อได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าและเข้าร่วมประชุมวิชาการกับคนที่ทำงานในระดับต่างๆ ก็ยิ่งพบว่า รากเหง้าของปัญหาของชาวบ้านเราเกิดจาก “การเอาเปรียบกันและหลอกลวงกันในระดับโลก” อย่างแยบยลและอย่างเรื้อรังยาวนาน ชาวบ้านเราส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ซึ่งถูกคนภายนอกมากระทำและเอาเปรียบและถูกหลอก คนภายนอกร่ำรวย เสวยสุข ทิ้งไว้แต่ความทุกข์รันทดไว้ให้เกษตรกร ชาวไร่ชาวนาและลูกหลาน เป็นอยู่อย่างนี้มานานเหมือนถูกสาบแช่งไม่ให้ได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากพลิกฟื้นชีวิตของตนเลย ผมเขียนเอกสารฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการจุดประเด็นการอภิปราย ถกเถียงกันของสมัชชาสุขภาพที่จะมีขึ้น เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจปัญหาที่ลึกซึ้งและร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสม โดยจะเน้นประเด็น ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบฯในรายละเอียด ลองมาดูตัวอย่างชีวิตเกษตรกรสักคนกันก่อน (อ่านข้อมูลข้างบน กรณีศึกษา ชีวิตของ ทองคำ สีบุดดา )