INTHARAM TEMPLE เรือยาววัดอินทาราม เรือหัวโตหรือเรือแปดวา ตำนานความมหัศจรรย์ธงช้างเผือก
ย่าเล่าให้ฟังเรื่อง เรือยาววัดอินทาราม
ย่าของข้าพเจ้าชื่อ กัน พวงสมบัติ อายุครบ105ปี เมื่อพ.ศ.2474 เล่าว่า
วัดมีเรือยาวอยู่4ลำคือ
1.เรือแม่แก่หงส์ 2.เรือจำปา 3.เรือแม่ทองเหลือง (3ลำ ปัจจุบัน ใช้ไม่ได้)
4.เรือหัวโต หรือ เรือแปดวา (ปัจจุบัน ยังใช้การได้)
เรือทั้ง4ลำเป็นเรือไม้ตะเคียน ใช้คนพายลำละ25-28คนทุกลำ
ข้าฯถามย่าว่า ใครเป็นคนทำ ย่าบอกว่า ไม่รู้
จากการสังเกตการทำ ช่างที่ทำเห็นจะเป็นคนคนเดียวกันเพราะ
ลักษณะหรือรูปร่างของเรือเหมือกันหมดทั้ง4ลำ จะแตกต่างกันก็ตรง
ลำนี้เป็นเรือของผู้หญิง ลำนี้เป็นเรือของผู้ชาย ย่าเล่าว่า
ครั้งหนึ่งมี พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี คือ รัชกาลที่5
ได้เสด็จชลมารคถึงบ้านหัวแด่น หรือ บ้านวัวแด่น
ทรงทอดพระเนตรเห็นเรือหัวโต พระองค์สนพระทัยจะประทับเรือหัวโต
เมือพระองค์มีพระประสงค์ดังนั้น ทั้งทหารและชาวบ้านดีอกดีใจกันมาก
ช่วยตกแต่งเรือหัวโตจนเป็นที่พอพระทัยแก่พระองค์
แล้วใช้ทหารพายเรือหัวโตไปทางทิศเหนือ จนเวลาบ่ายมากจึงเสด็จกลับ
ย่าเล่าว่า การตบแต่งเรือหัวโตก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากจะทำ
พระแท่นรองรับที่ทรงประทับ พร้อมกับใช้ ผ้าเหลืองผูกหัวเรือและท้ายเรือ
ส่วนตอนท้ายเรือก็ใช้ธงช้างปักไว้
"ธงช้าง ใช้พื้นสีแดง ระหว่างกลางของธงเป็นรูป ช้างเผือก"
และก็ธงนี้เองจึงเป็นสัญลักษณ์ของเรือหัวโต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น
ครั้นต่อมาในวัดอินทาราม จะเป็นปีไหนที่ย่าเคยเล่าให้ข้าฯฟัง แต่ก็ลืมไปแล้ว
จึงรวบรัดเอาว่า
มีพระสงฆ์องค์ เดินทางมาจำพรรษาที่วัดอินทาราม ท่านชื่อ เทศ
เป็นพระที่เรืองวิชาทางไสยศาสตร์มาก
พระองค์นี้เป็นที่นับถือของชาวบ้านดงกระเบาเป็นอันมาก
ท่านชื่อ หลวงพ่อเทศ
พอท่านมาจำพรรษาที่วัดอินทาราม ท่านก็เลยพบเรือหัวโตหรือเรือแปดวา
ซึ่งอยู่ใต้ถุนศาลาการเปรียญของวัดอินทาราม
ท่านจึงบอกให้ชาวบ้านในละแวก หามเรือหัวโตออกมา ช่วยกันขัดทำความสะอาด
หลวงพ่อเทศก็เริ่มทำ พิธีลงอักขระเป็นหนังสือขอม ที่หัวเรือและท้ายเรือ(ปัจจุบันเปิดให้ดูได้)
และห้ามไม่ผู้หญิงลงเรือหัวโตเป็นอันขาด
ย่าเล่าว่า น้ำมนต์ของท่านขลังมาก สามารถไล่และกันภูติผีปีศาจได้อย่างชะงัด
เคยมีโรคห่าระบาดครั้งใด ชาวบ้านจะมาขอน้ำมนต์หลวงพ่อเทศ มาคนละขัน
ได้มาแล้วก็มาเที่ยวพรมตามบ้านตามเรือน แม้แต่คอกวัว ควาย
ข้าฯถามย่าว่า หลวงพ่อเทศ เป็นใคร มาจากไหน ย่าบอกไม่รู้ รู้แต่ว่า
ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาอาคมมาก และท่านก็เป็น
อาจารย์สอนวิชาทางไสยศาสตร์ให้กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
คราวนี้มาพูดกันถึงเรือหัวโตหรือเรือแปดว่ากันอีกสักหน่อย เพราะ
เป็นสิ่งที่อยากให้ลูกหลานได้อ่าน..(ย่อ) คือ
เรือหัวโต จะเริ่มลงมือเที่ยวพายไปแข่ง แพ้ชนะตามวัดในจังหวัดนครสวรรค์ต่างๆดังนี้
1.วัดจอมคีรี นาคพรต 2.วัดตะเคียนเลื่อน 3.วัดบ้านเกาะ 4.วัดบ้านมะฝ่อ 5.วัดยางตาล
6.วัดดงชะพลู 7.วัดโกรกพระ 8.วัดยางขาว
จนถึงงานวัดอินทารามเป็นงานสุดท้ายของปีนั้นๆ
พอตกมาถึง พ.ศ.2477 ข้าฯจำได้ว่า ข้าฯหนีวัดไปเที่ยวเรือยาวกับเขาที่วัดบ้านเกาะ
ขณะที่เรือหัวโตพายเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทุกที่จะมีคนวิ่งออกมาดูกันมาก
เสียงเพลงกับเพลงที่ร้องออกมานั้น ไม่น่าฟังแม้แต่เพลงเดียว
แต่ก็ยังเป็นที่พออกพอใจกับหนุ่มสาวและเด็ก
ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่พอเดินออกมาเห็นเรือหัวโต ต่างพายกมือไว้กันทุกคน
ข้าฯถามนาย เหว่า พวงสมบัติ ในฐานะเป็นอา ว่าเขายกมือไหว้ทำไม
อาตอบว่า หัวโตเป็นเรือลำเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินประทับ
และเป็นเรือที่หลวงพ่อเทศปลุกเสกเข้าไว้
ย่าของข้าพเจ้าชื่อ กัน พวงสมบัติ อายุครบ105ปี เมื่อพ.ศ.2474 เล่าว่า
วัดมีเรือยาวอยู่4ลำคือ
1.เรือแม่แก่หงส์ 2.เรือจำปา 3.เรือแม่ทองเหลือง (3ลำ ปัจจุบัน ใช้ไม่ได้)
4.เรือหัวโต หรือ เรือแปดวา (ปัจจุบัน ยังใช้การได้)
เรือทั้ง4ลำเป็นเรือไม้ตะเคียน ใช้คนพายลำละ25-28คนทุกลำ
ข้าฯถามย่าว่า ใครเป็นคนทำ ย่าบอกว่า ไม่รู้
จากการสังเกตการทำ ช่างที่ทำเห็นจะเป็นคนคนเดียวกันเพราะ
ลักษณะหรือรูปร่างของเรือเหมือกันหมดทั้ง4ลำ จะแตกต่างกันก็ตรง
ลำนี้เป็นเรือของผู้หญิง ลำนี้เป็นเรือของผู้ชาย ย่าเล่าว่า
ครั้งหนึ่งมี พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี คือ รัชกาลที่5
ได้เสด็จชลมารคถึงบ้านหัวแด่น หรือ บ้านวัวแด่น
ทรงทอดพระเนตรเห็นเรือหัวโต พระองค์สนพระทัยจะประทับเรือหัวโต
เมือพระองค์มีพระประสงค์ดังนั้น ทั้งทหารและชาวบ้านดีอกดีใจกันมาก
ช่วยตกแต่งเรือหัวโตจนเป็นที่พอพระทัยแก่พระองค์
แล้วใช้ทหารพายเรือหัวโตไปทางทิศเหนือ จนเวลาบ่ายมากจึงเสด็จกลับ
ย่าเล่าว่า การตบแต่งเรือหัวโตก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากจะทำ
พระแท่นรองรับที่ทรงประทับ พร้อมกับใช้ ผ้าเหลืองผูกหัวเรือและท้ายเรือ
ส่วนตอนท้ายเรือก็ใช้ธงช้างปักไว้
"ธงช้าง ใช้พื้นสีแดง ระหว่างกลางของธงเป็นรูป ช้างเผือก"
และก็ธงนี้เองจึงเป็นสัญลักษณ์ของเรือหัวโต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น
ครั้นต่อมาในวัดอินทาราม จะเป็นปีไหนที่ย่าเคยเล่าให้ข้าฯฟัง แต่ก็ลืมไปแล้ว
จึงรวบรัดเอาว่า
มีพระสงฆ์องค์ เดินทางมาจำพรรษาที่วัดอินทาราม ท่านชื่อ เทศ
เป็นพระที่เรืองวิชาทางไสยศาสตร์มาก
พระองค์นี้เป็นที่นับถือของชาวบ้านดงกระเบาเป็นอันมาก
ท่านชื่อ หลวงพ่อเทศ
พอท่านมาจำพรรษาที่วัดอินทาราม ท่านก็เลยพบเรือหัวโตหรือเรือแปดวา
ซึ่งอยู่ใต้ถุนศาลาการเปรียญของวัดอินทาราม
ท่านจึงบอกให้ชาวบ้านในละแวก หามเรือหัวโตออกมา ช่วยกันขัดทำความสะอาด
หลวงพ่อเทศก็เริ่มทำ พิธีลงอักขระเป็นหนังสือขอม ที่หัวเรือและท้ายเรือ(ปัจจุบันเปิดให้ดูได้)
และห้ามไม่ผู้หญิงลงเรือหัวโตเป็นอันขาด
ย่าเล่าว่า น้ำมนต์ของท่านขลังมาก สามารถไล่และกันภูติผีปีศาจได้อย่างชะงัด
เคยมีโรคห่าระบาดครั้งใด ชาวบ้านจะมาขอน้ำมนต์หลวงพ่อเทศ มาคนละขัน
ได้มาแล้วก็มาเที่ยวพรมตามบ้านตามเรือน แม้แต่คอกวัว ควาย
ข้าฯถามย่าว่า หลวงพ่อเทศ เป็นใคร มาจากไหน ย่าบอกไม่รู้ รู้แต่ว่า
ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาอาคมมาก และท่านก็เป็น
อาจารย์สอนวิชาทางไสยศาสตร์ให้กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
คราวนี้มาพูดกันถึงเรือหัวโตหรือเรือแปดว่ากันอีกสักหน่อย เพราะ
เป็นสิ่งที่อยากให้ลูกหลานได้อ่าน..(ย่อ) คือ
เรือหัวโต จะเริ่มลงมือเที่ยวพายไปแข่ง แพ้ชนะตามวัดในจังหวัดนครสวรรค์ต่างๆดังนี้
1.วัดจอมคีรี นาคพรต 2.วัดตะเคียนเลื่อน 3.วัดบ้านเกาะ 4.วัดบ้านมะฝ่อ 5.วัดยางตาล
6.วัดดงชะพลู 7.วัดโกรกพระ 8.วัดยางขาว
จนถึงงานวัดอินทารามเป็นงานสุดท้ายของปีนั้นๆ
พอตกมาถึง พ.ศ.2477 ข้าฯจำได้ว่า ข้าฯหนีวัดไปเที่ยวเรือยาวกับเขาที่วัดบ้านเกาะ
ขณะที่เรือหัวโตพายเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทุกที่จะมีคนวิ่งออกมาดูกันมาก
เสียงเพลงกับเพลงที่ร้องออกมานั้น ไม่น่าฟังแม้แต่เพลงเดียว
แต่ก็ยังเป็นที่พออกพอใจกับหนุ่มสาวและเด็ก
ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่พอเดินออกมาเห็นเรือหัวโต ต่างพายกมือไว้กันทุกคน
ข้าฯถามนาย เหว่า พวงสมบัติ ในฐานะเป็นอา ว่าเขายกมือไหว้ทำไม
อาตอบว่า หัวโตเป็นเรือลำเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินประทับ
และเป็นเรือที่หลวงพ่อเทศปลุกเสกเข้าไว้