Greater East Asia War ตอนที่2 สงครามมหาเอเชียบูรพา
ผมขอหวนกลับไปพูดถึงสงครามมหาเอเชียบูรพาอีกครั้งว่า สมัยสงครามที่เรียกง่ายๆว่า สงครามญี่ปุ่น พอเกิดสงคราม มันก็วุ่นวาย
ชาวบ้านไม่ค่อยมีเวลาทำมาหากิน ตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง ต้องคอยระวังจากการรบพุ่งโจมตีกันระหว่างฝ่ายญี่ปุ่นกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีสมาชิกรวมกัน7-8ประเทศ
ญี่ปุ่นมีการสร้างทางรถไฟสายกาญจนบุรีไทรโยค กับสายผ่ายดงพญาเย็นเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงคน อาวุธ ยุทโธปกรณ์
เพื่อที่จะผ่านเข้าไปยังประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม มุ่งไปบรรจบกับเยอรมัน ที่ประเทศรัฐเซีย
ประเทศไทยแม้จะตกลงใจให้ญี่ปุ่นผ่านไปโดยดี ก็มีเงื่อนไขที่ต้องปฎิบัติการช่วยเหลือด้านการขนส่งเสบียงและอุปกรณ์ให้กับฝ่ายญี่ปุ่น โดยผู้ชายที่แข็งแรงสนับสนุนญี่ปุ่น
ส่วนใหญ่ใช้ยานพาหนะในสมัยนั้นคือ เกวียน เป็นหลักในการเดินทางไปไกลๆหลายวันหลายคืน ผ่านที่ทุรกันดาร ป่าดงดิบ
ก็มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไปบ้างพอสมควร ด้วยโรคภัยหลายประการเช่น โรคไข้ป่า ไข้ทรพิษ ท้องร่วง แถมยังมีโรคหิดอีกด้วย
วิธีการักษาในสมัยนั้นก็ใช้แบบหมอชาวบ้าน ทางไสยศาสตร์บ้างตามมีตามเกิด จึงมีการเสียชีวิตไปไม่น้อย
ครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่ก็ต้องหลบซ่อนอยู่ตามป่าตามเขา มีหลุมหลบภัย สัญญาณเตือน เช่นเสียงหวูดจากโรงสีไฟ หรือจากเรือ จากหวอ หรือสัญญาณอื่นๆที่ตกลงกันไว้
กลางคืนต้องพลางไฟจากไต้หรือตะเกียง แม้แต่กองฟืนที่สุมไว้
ประเทศไทยแม้จะตกลงใจให้ญี่ปุ่นผ่านไปโดยดี ก็มีเงื่อนไขที่ต้องปฎิบัติการช่วยเหลือด้านการขนส่งเสบียงและอุปกรณ์ให้กับฝ่ายญี่ปุ่น โดยผู้ชายที่แข็งแรงสนับสนุนญี่ปุ่น
ส่วนใหญ่ใช้ยานพาหนะในสมัยนั้นคือ เกวียน เป็นหลักในการเดินทางไปไกลๆหลายวันหลายคืน ผ่านที่ทุรกันดาร ป่าดงดิบ
ก็มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไปบ้างพอสมควร ด้วยโรคภัยหลายประการเช่น โรคไข้ป่า ไข้ทรพิษ ท้องร่วง แถมยังมีโรคหิดอีกด้วย
วิธีการักษาในสมัยนั้นก็ใช้แบบหมอชาวบ้าน ทางไสยศาสตร์บ้างตามมีตามเกิด จึงมีการเสียชีวิตไปไม่น้อย
ครอบครัวคนไทยส่วนใหญ่ก็ต้องหลบซ่อนอยู่ตามป่าตามเขา มีหลุมหลบภัย สัญญาณเตือน เช่นเสียงหวูดจากโรงสีไฟ หรือจากเรือ จากหวอ หรือสัญญาณอื่นๆที่ตกลงกันไว้
กลางคืนต้องพลางไฟจากไต้หรือตะเกียง แม้แต่กองฟืนที่สุมไว้