อาเซียนหรือ ASEAN ย่อมาจากคำเต็ม Association of Southeast Asian Nations แปลเป็นไทยว่า “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

 "จดหมายจากตะรุเตา ฉลองครบรอบสามทศวรรษ"ของบุญเสริม ฤทธาภิรมย์ ฉบับที่19
 สำรวจมรดกอาเซียน
บ้านภิรมย์สุข ถนนยาตราสวัสดี สตูล ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
คุณกิ่งกานต์ครับ รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้นมา เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๑๗ นับเป็นอุทยานทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
 ล่วงมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ องค์การยูเนสโก (UNESCO) แห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องให้เป็น มรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)

 ก่อนอื่น ขออธิบายคำว่า อาเซียน สักเล็กน้อย เพื่อเตือนความจำของคุณกิ่งกานต์ก็แล้วกัน
  อาเซียนหรือ ASEAN ย่อมาจากคำเต็ม Association of Southeast Asian Nations
 แปลเป็นไทยว่า “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, พม่า, ลาว, กัมพูชา, บรูไนดารุสซาลาม และ ติมอร์เลสเต้ แสดงว่าอุทยานแห่งชาติตะรุเตามีความสมบูรณ์ สวยงามตามธรรมชาติ มีเอกลักษณ์โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเกณฑ์ที่องค์การยูเนสโกกำหนด เข้าสู่ทำเนียบ มรดกแห่งอาเซียนอย่างสง่างาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ คงไม่เกินเลยความจริงที่ผมจะพูดว่าเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ที่หาชมได้ยากในทวีปเอเชียด้วย สำนวนภาษาอังกฤษเรียกว่า a must หมายถึง “สิ่งที่ทุกคนไม่ควรละทิ้งโอกาส” ตะรุเตาจึงเป็นสถานที่ที่ทุกคนควรไปเที่ยวชมให้จงได้.......ฮะ แฮ่ม ! จะคุยมากไปหรือเปล่า พร้อมกันนี้ ต้องขอโทษคุณกิ่งกานต์ด้วยนะครับ จดหมายฉบับนี้ขัดสายตาเล็กน้อย เพราะออกจะรุงรังด้วยภาษาอังกฤษอยู่บ้าง(ประชาสัมพันธ์โดย tourismsatun เวบ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล) ผมเองชักไม่แน่ใจว่า คนไทยส่วนใหญ่รู้จักอุทยานแห่งชาติดีเพียงใด คุณกิ่งกานต์คงเคยไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือมาแล้วหลายแห่ง และเดาเอาว่าคงเคยไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติ ดอยขุนตาล อยู่ไม่ไกลจากลำพูนเท่าใดนัก อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดลำปางกับลำพูนด้วยมิใช่หรือ ผมอ่านจากหนังสือหรอกนะ อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งจะมีลักษณะโดดเด่นด้านความงามตามธรรมชาติต่างกันออกไป เช่นมี ป่าไม้ ภูเขา น้ำตก ถ้ำ พืช สัตว์ ศิลปะวัฒนธรรม ฯลฯ ที่ควรแก่การอนุรักษ์ให้เป็นมรดกตกทอดแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้มาก จึงจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นทั่วประเทศ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพื่อรักษาทรัพยากรในพื้นที่ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมให้มากที่สุด หรือให้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพธรรมชาติเท่านั้น เพื่อรักษาพื้นที่ที่มีความสวยงามไว้ให้เป็นประโยชน์ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อรักษาแหล่งธรรมชาติไว้เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยสืบไป ดังนั้น อุทยานแห่งชาติจึงมีคุณค่าประมาณมิได้ เป็นพื้นที่คุ้มครองพืชและสัตว์ทุกชนิด แหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สร้างความอุดมสมบูรณ์แก่ทองถิ่น สถานที่คุ้มครองสายพันธุ์ธรรมชาติของพืชและสัตว์ มีประโยชน์ด้านการเกษตรและด้านการแพทย์ ใช้เป็นแหล่งวิจัย ทดลอง ค้นคว้าในสาขาต่าง ๆ เช่น พฤกษศาสตร์ นิเวศวิทยา ธรณีวิทยา ช่วยสร้างอาชีพแก่ผู้คนในท้องถิ่น ที่ได้จากการท่องเที่ยว คุณกิ่งกานต์คงไม่เถียงความจริงข้อนี้(ประชาสัมพันธ์โดย tourismsatun เวบ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล/ต้นกล้าอาชีพสตูล รุ่น3/ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7) อุทยานแห่งชาติออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ภาคพื้นดิน กับ ภาคทางทะเล กลุ่มแรกตั้งอยู่บนแผ่นดินหรือบนบก กลุ่มที่สองตั้งอยู่ในทะเลหรือครึ่งทะเลครึ่งบก ผมขออธิบายอุทยานแห่งชาติกลุ่มภาคพื้นดินก่อน จัดเป็นอุทยานที่คนไทยรู้จักดี มีอยู่มากมายในเมืองไทย กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ขอเอ่ยชื่อพอเป็นตัวอย่าง ไล่มาจากทางภาคเหนือก่อน เช่น อุทยานแห่งชาติดอยภูคา/ น่าน,อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์/ เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล /ลำปาง-ลำพูน, อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย/สุโขทัย ที่ตั้งอยู่ในภาคกลางได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัดในภาคกลางและบางส่วนของภาคอีสาน อุทยานแห่งชาติไทรโยค กาญจนบุรี, อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว/จันทบุรี ทางภาคอีสานได้แก่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง/ เลย, อุทยานแห่งชาติภูเวียง/ ขอนแก่น, อุทยานแห่งชาติภูพาน/สกลนคร ภาคใต้เช่น อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า/ พัทลุง, อุทยานแห่งชาติเขาหลวง/ นครศรีธรรมราช, อุทยานแห่งชาติบางลาง/ยะลา ประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติภาคพื้นดินไม่น้อยกว่า ๗๐ แห่งทั่วประเทศ เป็นน่ายินดีเหลือเกิน คุณกิ่งกานต์อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับ อุทยานภาคทางทะเล หรืออุทยานแห่งชาติทางทะเล เนื่องจากไม่มีอุทยานประเภทนี้ในภาคเหนือ เป็นที่เข้าใจกันง่าย ๆ คือตั้งอยู่ในทะเล หรือครึ่งทะเลครึ่งบก จึงมีอยู่เฉพาะในภาคใต้และภาคตะวันออกเท่านั้น อุทยานแห่งชาติทางทะเลตั้งอยู่ใน ๒ พื้นที่ใหญ่ ได้แก่ ในบรรดาอุทยานภาคทางทะเลทั้ง ๑๙ แห่ง ตะรุเตามีจุดแด่นอยู่ ๒ เรื่อง คือเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ อีกทั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพียงหนึ่งเดียวในประเทศ ที่องค์การยูเนสโก แห่งสหประชาชาติประกาศยกย่อง เป็นมรดกแห่งอาเซียน อีกทั้งไม่มีอุทยานแห่งชาติภาคพื้นดินแห่งใดของไทย ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ แม้แต่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ก็ยังไม่ได้รับการจัดเข้าสู่ทำเนียบมรดกแห่งอาเซียนเสียด้วยซ้ำ(ประชาสัมพันธ์โดย tourismsatun เวบ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล/ต้นกล้าอาชีพสตูล รุ่น3/ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7) จึงขอแนะนำให้รู้จักอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในเชิงภูมิศาสตร์ พื้นที่ของอุทยานครอบคลุมสองหมู่เกาะสำคัญ ได้แก่ หมู่เกาะตะรุเตา กับ หมู่เกาะอาดัง-ราวี หมู่เกาะตะรุเตามีจำนวนเกาะทั้งสิ้น ๒๓ เกาะ ส่วนหมู่เกาะอาดัง-ราวีมีจำนวน ๒๗ เกาะ ดังนั้น อุทยานแห่งชาติตะรุเตาจึงมีเกาะรวมกัน ๕๐ เกาะพอดี ผมว่าแค่นั่งนับเกาะในแผนที่ก็เหนื่อยพอดู คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น ๑,๔๙๐ ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ พื้นที่ส่วนที่เป็น แผ่นดินหรือเกาะ กับ แผ่นน้ำหรือทะเล ส่วนที่เป็นแผ่นดินหรือเกาะมีพื้นที่ ๑,๒๖๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนที่เป็นแผ่นน้ำหรือทะเลมีเพียง ๒๓๐ ตารางกิโลเมตร ดังนั้นส่วนที่เป็นแผ่นน้ำจึงมีปริมาณมากกว่าแผ่นดินราว ๕.๕ เท่า หมู่เกาะตะรุเตามีเกาะทั้งสิ้น ๒๓ เกาะ ตะรุเตาเป็นเกาะใหญ่ที่สุด ผมเคยเล่าเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ของเกาะตะรุเตาอย่างละเอียดก่อนแล้ว จะไม่ขออธิบายซ้ำอีก ส่วนเกาะอื่น ๆ ที่ ตั้งอยู่รายรอบมีลักษณะเป็นเกาะหินเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีธรรมชาติสวยงาม บางเกาะมีนกนางแอ่นทำรัง ทำรายได้ทางเศรษฐกิจ เกาะที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันขึ้นใจได้แก่ เกาะไข่ กับ เกาะกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะตะรุเตา ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ชื่อเกาะกลางหมายถึงตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างเกาะตะรุเตากับเกาะอาดัง เกาะกลางมีขนาดใหญ่กว่าเกาะไข่มากมาย แต่ถูกรัศมีของเกาะไข่บดบังไปหมดสิ้น จุดสนใจที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือขึ้นไปบนจุดชมวิว ผาชะโด อยู่ไม่ไกลจากหน่วยพิทักษ์อุทยาน ฯ เดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาไม่เกิน ๒๐ นาทีก็จะถึงหน้าผา เมื่อยืนอยู่ตรงจุดนั้นจะมองเห็นเกาะหลีเป๊ะและเกาะใกล้เคียงชัดเจน เป็นมุมสูงเด่นมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม ผาชะโดเป็นแหล่งประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง โจรสลัดเคยใช้เป็นที่แอบซุ่มมองเรือสินค้าที่แล่นผ่านไปมา พอเห็นเหยื่ออยู่ในสายตา ก็รีบส่งสัญญาณเตรียมการปล้นสะดม คงมีพ่อค้าเรือลูกเรือจำนวนหนึ่งสังเวยชีวิตด้วยน้ำมือโจรแถบหมู่เกาะอาดัง-ราวี หากผมย้อนเวลาหาอดีตได้ เกิดมาร่วมสมัยกับพวกสลัดตะรุเตา บังเอิญมายืนอยู่บนหน้าผาชะโดขณะนั้น คงขอร้องพวกเขาว่า อย่าไปคิดทำร้ายเบียดเบียนชีวิตคนอื่นเยี่ยงผักปลากันเลย ขอบิณฑบาตทีเถอะนะ....คุณโจรสลัดที่รัก(ประชาสัมพันธ์โดย tourismsatun เวบ สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล/ต้นกล้าอาชีพสตูล รุ่น3/ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7) ส่วนเกาะหลีเป๊ะหรือ นิบิส เป็นคำภาษามลายูแปลว่า บาง หมายถึงเกาะเล็ก แบนราบทำนองนั้น มีเนื้อที่ราว ๔ ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าเกาะอาดังเกือบครึ่ง เกาะหลีเป๊ะชื่อไม่โด่งดังติดปากคนเหมือนเกาะอาดัง ทั้ง ๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่กว่าพันคนบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ มีโรงเรียนเปิดสอนถึงชั้น ม. ๓ สถานีอนามัยที่ให้บริการแก่ชุมชน พร้อมสถานีตำรวจคอยดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว สำหรับเรื่องชาวน้ำเกาะหลีเป๊ะผมขอขยักไว้เล่าในจดหมายฉบับต่อไป เป็นการเจาะลึกเกร็ดชีวิตและวัฒนธรรมชาวเกาะโดยเฉพาะ คุณกิ่งกานต์อดใจรออ่านก็แล้วกันนะครับ ขอวกกลับมาเรื่องเกาะหลีเป๊ะกันต่อนะ เกาะนี้มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแหล่งน้ำจืดสมบูรณ์ อีกทั้งธรรมชาติที่สวยงาม ได้แก่หาดทรายขาวสะอาดที่มีอยู่ทั่วไป น้ำทะเลสีมรกตและปะการังมีอยู่รายรอบเกาะ บนเกาะมีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่เป็นดง ยืนต้นมาอย่างน้อยก็ร่วมร้อยปีแล้ว ด้านทิศตะวันออกของเกาะเป็นย่านชุมชนใหญ่ เป็นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวเล ทุกวันนี้ กลายแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เอกชนปลูกสร้างรีสอร์ทขึ้นมากมาย ส่วนด้านทิศตะวันตกของเกาะก็มีรีสอร์ทผุดขึ้นราวดอกเห็ดเช่นกัน ไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้านตะวันตกมีหาดทรายขาวยาวเหยียดชื่อหาดปะไตดายา ภาษามลายูแปลว่า หาดลมตะวันตก ฝรั่งนักท่องเที่ยวออกเสียงเพี้ยนเป็น พัทยา ฟังชื่อก็แปลกดี ถ้าไม่คิดอะไรมาก ความคิดเห็นส่วนตัวของผม น่าจะช่วยกันรณรงค์เรียกชื่อตามภาษาท้องถิ่นสตูล พัทยาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีโน่นมาเรียกแทนกันได้อย่างไร เอาพัทยาคืนไปแล้วเอาปะไตดายาของชาวสตูลคืนมาเสียโดยดี เรามีชื่อภาษาพื้นเมืองฟังไพเราะ เป็นเอกลักษณ์ชาวสตูลอยู่แล้ว จู่ ๆ กลับมีผู้คะนองปากเปลี่ยนชื่อท้องถิ่นลากเข้าความ เป็นบ้านเมืองคนอื่นไปหน้าตาเฉย คุณกิ่งกานต์เห็นด้วยกับผมไหมล่ะ ชาวสตูลย่อมรักชื่อบ้านนามเมืองที่เป็นภาษาท้องถิ่นของเขานะ จะบอกให้ จากเกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะแล้ว ขอแนะนำให้คุณกิ่งกานต์รู้จักเกาะสำคัญคือ เกาะราวี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะอาดัง ต่างก็มีขนาดไล่เลี่ยกัน อยากเปรียบว่า อาดังเป็นพี่ ราวีเป็นน้อง(ประชาสัมพันธ์โดย tourismsatun เวบ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล/ต้นกล้าอาชีพสตูล รุ่น3/ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7) หรือจะเรียกว่าฝาแฝดกันก็ไม่น่าจะผิด พื้นที่เป็นโขดหินแกรนิตเช่นเดียวกับอาดัง ประกอบด้วยหน้าผาสูงชัน บนเกาะอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด มีชายหาดเพียงไม่กี่แห่ง ไม่เหมาะที่จะตั้งบ้านเรือนเนื่องจากไม่มีที่ราบ ด้านทิศใต้มี หน่วยพิทักษ์อุทยาน ฯ ที่ ต.ต.๖ (หาดทรายขาว) ตั้งอยู่ มีแนวปะการังน้ำตื้นยาวกว่า ๓๐๐ เมตร สามารถดำลงไปชมได้ง่าย เป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมไปดำน้ำชมปะการังที่เกาะแห่งนี้ เกาะราวีเสมือนกำแพงกั้นอยู่ทางเหนือ เกาะอาดังกั้นอยู่ด้านทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศตะวันตกก็มี เกาะดง เกาะรองกวย เกาะหินซ้อนและเกาะอื่น ๆ เป็นปราการด่านนอก พื้นที่ส่วนในคล้ายอ่าวเล็ก ๆ แวดล้อมด้วยแนวปะการัง เป็นที่หลบลมอย่างดี ถ้าเป็นแหล่งน้ำตื้นจะเรียกว่า ลากูน (lagoon) บังเอิญบริเวณนั้นน้ำลึกจึงเรียกว่าลากูนไม่ได้ พื้นที่ส่วนนี้คือแหล่งปะการังสวยงามระดับโลก น้ำทะเลสีเขียวมรกต ไล่ไปตั้งแต่แก่เกาะดงซึ่งอยู่ใกล้เกาะราวีมากที่สุด ถัดไปเป็นเกาะรองกวย ด้านหัวเกาะมีหาดหินสีเหลือง และหาดทรายสะอาดสีขาวนวล ไปจดเกาะหินซ้อนล่างสุด ซึ่งถือเป็น ประติมากรรมธรรมชาติ ที่มีหินก้อนมหึมาสองก้อนวางซ้อนกันอย่างเหมาะเจาะ ระหว่างเกาะราวีกับเกาะอาดังมี เกาะยาง แหล่งปะการังน้ำตื้น ไม่ต้องดำลงไปลึกนัก ก็จะเห็นความมหัศจรรย์พันลึกของโลกแห่งปะการังใต้ทะเล จากเกาะยางแล่นตัดตรงลงใต้ก็จะไปพบ เกาะหินงาม ผมจำเป็นต้องอธิบายสรรพคุณของเกาะแห่งนี้เป็นพิเศษ ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นหินชนิดพิเศษหาดูได้ยาก เกาะมีสภาพเป็นภูเขาสูงทอดเด่นเหนือน้ำทะเล ต้นไม้ปกคลุมอยู่บนยอดบ้าง ส่วนที่เป็นที่ราบค่อย ๆ ลาดไปทางทิศเหนือจรดกับน้ำทะเล ที่ราบไม่ใช่หาดทรายดังเช่นเกาะทั่วไป แต่กลายเป็นหาดหิน เรียงรายด้วยหินก้อนใหญ่น้อย กองพะเนินเต็มหาด ก้อนหินที่มีสัณฐานต่างกัน ที่ประหลาดคือไม่มีเหลี่ยมหรือคม แต่มีลักษณะกลม มน รี มองไปทางไหนเห็นแต่หินล้วน ๆ ไม่มีทรายแม้เม็ดเดียว หาดหินค่อย ๆ ลาดลงสู่ผิวน้ำ ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำมีหินถมทับกันอีกปริมาณมหาศาล เพียงแค่เดินย่ำเพลิน ๆ ไปบนหาดหิน ได้สัมผัสหินริมหาดหรือส่วนที่แช่น้ำ เสมือนอยู่ในโลกที่มีธรรมชาติมหัศจรรย์พันลึก เหนือคำบรรยายจริง ๆ(ประชาสัมพันธ์โดย tourismsatun เวบ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล/ต้นกล้าอาชีพสตูล รุ่น3/ต้นกล้าอาชีพนครสวรรค์ รุ่น7) ยิ่งหินใต้น้ำจะมีลักษณะแตกต่างจากบนหาดอย่างเห็นได้ชัด หินบนหาดถูกแดดเผากับสายฝน ช่วยขัดสี แต่หินใต้น้ำถูกน้ำเค็มแช่อิ่ม คลื่นซัดอยู่ตลอดเวลา รูปพรรณสัณฐานสีสันของหินสองกลุ่มจึงต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หินบนหาดก้อนค่อนข้างใหญ่ บางก้อนหนักอึ้งแทบยกไม่ไหว เวลาเดินย่ำบนหาดต้องค่อยระวัง เท้าอาจจะพลิกและแพลงได้ หินมีสีธรรมดาแบบหินทั่วไป ไม่ใช่ของแปลกตรงข้ามกับหินที่อยู่ริมน้ำหรือจมอยู่ใต้น้ำ น้ำทะเลขึ้นลงอยู่เป็นระยะ บางระยะมันก็จมไม่นานมันก็โผล่ขึ้นเหนือน้ำ กลายเป็นหาดหินริมน้ำอีกต่อหนึ่ง หินก้อนจะไม่ใหญ่เกินไป คือเล็กจิ๋วเท่าปลายนิ้วมือและใหญ่ไม่เกินกำปั้น มีลักษณะมันวาวเลื่อมแสง มีลายริ้วบนหินไร้เหลี่ยม สัมผัสทีไรก็รู้สึกลื่นมือ มีหลากหลายสีสัน บ้างดำสนิทหรือสีเทา น้ำตาลปนแดง เทาเลื่อมน้ำตาล หินเหล่านี้ถูกน้ำทะเลซัดสาดมานับพันปี ความแรงและความสม่ำเสมอทำให้มันแตกสลายเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย กระทบกระแทกเบียดเสียด บดอัดซึ่งกันและกันจนเหลี่ยมคมลบเลือนไป เหลือไว้แต่สภาพกลมมน เกลี้ยงเกลา ธรรมชาติใช้เวลาอันยาวนานในการปรุงแต่งหินเหล่านั้นอย่างวิจิตรบรรจง เกินวิสัยที่มนุษย์จะทำได้ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านคน ลองคิดคำนวณรายได้ เงินหมุนเวียนซิครับว่าสักกี่ล้านบาท เฉพาะอุทยานแห่งชาติตะรุเตาแห่งเดียว ข้อมูลปี ๒๕๕๐ มีผู้คนไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งนี้กว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ทั้งคนไทยและต่างชาติ เป็นจำนวนไม่น้อยเลย นับวันนักท่องเที่ยวจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้ ทั่วโลกตื่นตัวเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือ Eco-tourism คือส่งเสริมให้ผู้คนมีความรู้และเข้าใจ ถนอมรักษาสิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายให้เกิดความเสียหาย เป็นความรู้สึกที่เกิดจากสำนึกโดยแท้จริง ไม่ต้องมีการบังคับเคี่ยวเข็ญกัน ต้องยอมรับว่าคนไทยบางกลุ่มยังขาดสำนึกในเรื่องนี้ มีคนเห็นแก่ตัวชอบเก็บวัสดุ สิ่งของออกจากอุทยาน ชอบทำลายสัตว์ ตัดไม้ทำลายพันธุ์พืช ก่อความสกปรกลงในแหล่งน้ำและตามพื้นดิน แม้กระทั่งคนมักง่ายที่ชอบขีดเขียนตามหน้าผา โขดหิน หรือตามสถานที่ต่าง ๆ ล้วนก่อทัศนะอุจาดแก่ผู้พบเห็น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะไม่ประสบความสำเร็จเลย หากนักท่องเที่ยวยังมีนิสัยเห็นแก่ตัว มักง่าย และขาดความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Satun Unesco Global Geopark อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก แห่งแรกของไทย

masjid in satun มัสยิดธรรมประทีปห้วยน้ำดำ