ภาพรวมทางภาษาและวัฒนธรรมของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในบริบทประชาคมอาเซียน ตอนที่ 2
ภูมิหลังอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย (Indonesia) เป็นชื่อที่นักวิชาการฝรั่งเรียกหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ (South China Sea) ซึ่งอยู่ทางใต้สุด แต่ในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit: AD 1293 – AD 1527 / พ.ศ. 1836 – พ.ศ. 2070) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บนเกาะชวา เรียกดินแดนหมู่เกาะรอบๆ เกาะชวาว่า นูซันตารา (Nusantara) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นเมืองบริวารของอาณาจักรมัชปาหิต ที่ถูกกล่าวถึงในลิลิตเรื่องนครกฤตคามะ (Nagarakretagama) เขียนโดยพระปัญจา (Prapanca) เมื่อ ค.ศ. 1365 (พ.ศ. 1908) ซึ่งได้ระบุชื่อเมืองบริวารหรือเมืองขึ้นทั้งหมดของมัชปาหิตว่ามีทั้งหมด 68 เมือง ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่คาบสมุทรสุมาตรา (อินโดนีเซีย) คาบสมุทรมลายู (มาเลเซียและภาคใต้ของไทย) ไปจนถึงเกาะนิวกินี (ปัจจุบันประเทศนิวกินี)
คำว่า นูซันตารา (Nusantara) นี้ปรากฏครั้งแรกในคำสาบาน ซุมปาห์ ปาลาปา (Sumpah Palapa: AD 1336 /พ.ศ. 1879) โดยแม่ทัพและอัครมหาเสนาบดีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตนามว่า คชมาดา (Gajah Mada) ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ได้พบหลักฐานเพิ่มขึ้นอีกมาก เมื่อพบว่า Nusantara เป็นคำพ้องความหมายกับคำที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1275 (พ.ศ. 1818) ในสมัยรัฐบาลสิงหสาหรี (Singasari) ซึ่งสมัยนั้นเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า จักรวาลา มณฑลา ทวิปันตารา (Cakravala Mandala Dvipantara) ซึ่งถ้าเทียบความหมายก็จะตรงกันกับคำว่า Nusantara ซึ่งแปลว่า ท่ามกลางเกาะต่างๆ (The islands in between) ตั้งแต่ ค.ศ. 1512 (พ.ศ. 2055) หมู่เกาะแถบนี้ได้เข้าสู่วังวนทางการค้าเครื่องเทศกับประเทศตะวันตก ในปี ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษชื่อ จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ล (George Windsor Earl) เป็นคนแรกที่เสนอชื่อเรียกคนพื้นเมืองของหมู่เกาะนี้ว่า Indunesians และ Malayunesians ต่อมาลูกศิษย์ของท่านเอิร์ลชื่อ เจมส์ ริชาร์ดสัน โลแกน (James Richardson Logan) ได้เรียกชื่อหมู่เกาะนี้ว่า Indonesia แปลว่า หมู่เกาะอินเดีย ภายหลัง ค.ศ.1900 ชื่ออินโดนีเซียแพร่หลายมากขึ้น เมื่อนายอดอล์ฟ บาสเตียน (Adolf Bastian) นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี เขียนชื่อเรียก ‘อินโดนีเซีย’ เป็นภาษาเยอรมันในหนังสือชื่อ Indonesien oder die Inseln des Malayischen Archipels, 1884–1894 (อินโดนีเซียและเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะมลายู ค.ศ. 1884 – ค.ศ.1894) โปรดสังเกตว่า เขาเรียกชื่อ ‘อินโดนีเซีย’ เป็นชื่อเอกเทศ และว่าอยู่ในหมู่เกาะมลายู ชาวอินโดนีเซียคนแรกที่ใช้ชื่อ ‘อินโดนีเซีย’ เรียกชื่อประเทศของตนคือ นายสุวาร์ดี สุรยานิงรัต (Suwardi Suryaningrat หรือ Ki Hajar Dewantara) เมื่อเขาตั้งสำนักข่าวชื่อ Indonesisch Persbureau (สำนักข่าวอินโดนีเซีย) เมื่อ ค.ศ. 1913 (พ.ศ. 2456) ขณะที่เขายังอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดัตช์ (ฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์) เองกลับไม่ยอมรับชื่อนี้ แต่ใช้ชื่อเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า หมู่เกาะมลายู (Malay Archopelago) เรียกในภาษาดัตช์ว่า Maleische Archipel หมู่เกาะนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของดัตช์โดยเด็ดขาดในต้นศตวรรษที่ 20 ผลพวงของสงครามโลกครั้งที่ 2 และการยึดครองของญึ่ปุ่น มีส่วนทำให้ซูการ์โน (Soekarno) ซึ่งได้จัดตั้งขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชเมื่อ 17 สิงหาคม 1945 (พ.ศ. 2488) กระนั้นกว่าฮอลันดาจะยอมมอบเอกราชให้ก็ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก 4 ปี โดยฮอลันดาได้มอบเอกราชให้อินโดนีเซียอย่างเป็นทางการเมื่อ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียจัดฉลองเอกราชของตนทุกวันที่ 17 สิงหาคมของทุกปี ภูมิหลังมาเลเซีย คำว่า มาเลเซีย (Malaysia) มาจากคำว่า มาเลย์ (Malay) ซึ่งเป็นรูปคำภาษาอังกฤษของคำว่า มลายู (Melayu) เดิมคำว่า Malaysia เป็นคำ 3 คำที่นักเดินเรือชาวฝรั่งเศสชื่อ จูลส์ ดูม็องต์ ดูร์วิยล์ (Jules Dumont d'Urville) ประดิษฐ์ขึ้นระหว่างการเดินเรือของเขาในปี 1826 (พ.ศ. 2369) ได้แก่คำว่า Malaysia, Micronesia และ Melanesia เพื่อจำแนกกลุ่มคนและวัฒนธรรมในหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีลักษณะ ‘ต่าง’ กับกลุ่มโปลีนีเซีย (Polynesia) ซึ่งเป็นคำที่มีใช้กันอยู่แล้วในขณะนั้น ในปี ค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) ดูมองต์ได้เสนอคำเรียกเหล่านี้ต่อสมาคมภูมิศาสตร์ (Société de Géographie) แห่งฝรั่งเศส โดยดูม็องต์ ได้อธิบายในส่วนของคำว่า Malaysia ว่า “พื้นที่ที่รู้จักกันทั่วไปในนามว่า อีสต์ อินดีส์ หรืออินเดียตะวันออก” (an area commonly known as the East Indies) ต่อมาในปี ค.ศ. 1850 นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษนามว่า จอร์จ แซมมวล วินด์เซอร์ เอิร์ล ได้เขียนบทความลงใน The Journal of the Indian Archipelago and Eastern Asia ได้เสนอชื่อเรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า Melayunesia หรือ Indunesia พร้อมกับแสดงความคิดเห็นประกอบ ว่าตนชอบคำแรกหรือคำว่า Melayunesia (หมู่เกาะมลายู) มากกว่าอีกคำที่เสนอไปด้วย คือคำว่า Indunesia (หมู่เกาะอินเดีย) มาเลเซียได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) เรียกชื่อว่า สหพันธรัฐมลายา (The Federation of Malaya) ต่อมาเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ.1963 (พ.ศ. 2506) สิงคโปร์และบางส่วนของเกาะบอร์เนียว คือบอร์เนียวเหนือ (ซาบาห์) และซาราวัก ได้เข้ารวมกับสหพันธรัฐมลายา จึงเปลี่ยนเป็นชื่อว่า Malaysia ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เพียงไม่ถึงสองปีดี ในปี ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) มาเลเซียของให้สิงคโปร์แยกตัวออกไป นายลีกวนยูถึงกับเศร้าใจมาก ในที่สุดสิงคโปร์ก็แยกตัวกลายเป็นประเทศใหม่ มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) ที่น่าสนใจก็คือ ก่อนที่จะมีการเสนอชื่อ Malaysia ได้มีการเสนอชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ รวมทั้งชื่อ ลังกาสุกะ (Langkasuka) ซึ่งเป็นชื่อเรียกอาณาจักรเก่าแก่ของปัตตานี กำเนิดในศตวรรษที่ 1 และรุ่งเรืองในระหว่างศตวรรษที่ 2-15 จากเอกสารชื่อ “ตารีค ปาตานี” (Tarikh Patani) ได้ระบุว่า กษัตริย์ศรีวิชัยเคยประทับที่ลังกาสุกะ (ปัตตานี) มาก่อน ก่อนที่จะย้ายไปประทับที่สุราษฎร์ธานี (ไชยา) จึงกล่าวได้ว่า ลังกาสุกะเคยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย ก่อนที่ลังกาสุกะจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) จากเกาะชวา ระหว่าง ค.ศ. 1293 – ประมาณ ค.ศ. 1500 (พ.ศ. 1836 - ประมาณ พ.ศ. 2043) ต่อมาลังกาสุกะเสื่อมโทรมลง ผู้ครองนครรุ่นหลังย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่บนแหลมตันหยงลูโละ ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จ.ปัตตานี อีกเรื่องที่น่าสนใจ ในห้วงเวลาเดียวกันนี้ นักการเมืองและชนชั้นนำของฟิลิปปินส์เองก็กำลังถกเถียงกันที่จะใช้ชื่อ Malaysia เป็นชื่อประเทศของตนแทนชื่อ ฟิลิปปินส์ (Philippines) ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากพระนามของพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งสเปน (King Philip II of Spain) เพราะผู้นำและปัญญาชนฟิลิปปินส์ในสมัยนั้นเชื่อว่า ชาวฟิลิปปินส์มีเชื้อสายมลายู หรือมาลายัน (Malayan) แม้แต่โฮเซ่ ริซัล (Jose Rizal) นักเขียนและวีรบุรุษชาวฟิลิปปิโนก็เชื่อว่าตนเป็นคนมลายู
2-2 Candi Borobudur มหาเจดีย์ในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในชวากลาง ศาสนาพุทธ ฮินดู และอิสลาม เดิมทีนั้นประชากรในหมู่เกาะนูซันตาราส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาฮินดูควบคู่กันมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 อันเป็นช่วงเดียวกับที่อาณาจักรลังกาสุกะที่ปัตตานีและเคดะห์กำเนิดขึ้น ช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของอินโดนีเซียเกิดขึ้นในสมัยที่หมู่เกาะอินโดนีเซียมีกษัตริย์นับถือศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู กล่าวคือในสมัยของอาณาจักรศรีวิชัย สมัยราชวงศ์ไศเลนทร์บนเกาะชวา ได้สร้างมหาเจดีย์โบโรบูดูร์ (Candi Borobudur) ในราวปี ค.ศ.760 – ค.ศ.830 (พ.ศ.1303- พ.ศ.1373) ในรัชสมัยของพระเจ้าสมาระตุงคะ (Samaratungga) อันเป็นช่วงที่ราชวงศ์ไศเลนทร์ (Sailendra) บนเกาะชวารุ่งเรืองถึงขีดสุด อีกช่วงหนึ่งที่นูซันตารารุงเรืองถึงขีดสุด อยู่ในรัชสมัยพระเจ้าโลกบาล (King Lokapala) และบาลีตุงมหาสัมภู (Balitung Maha Sambu) แห่งราชวงศ์สัญชยะ (Sanjaya) จากอาณาจักรมาตารัม (Mataram) ในราว ค.ศ. 950 (พ.ศ.1993) โดยพระองค์ทรงปฏิสังขรณ์กลุ่มเจดีย์ปรัมบานัน (Candi Prambanan) หรือจันทรารา จงกรัง (Candi Rara Jonggrang) ซึ่งเป็นกลุ่มเจดีย์ในศาสนาฮินดูที่กล่าวกันว่า สวยและสูงที่สุดในโลก เริ่มสร้างในปี ค.ศ.850 (พ.ศ.1393)
2-3 Candi Prambanan กลุ่มเจดีย์ในศาสนาฮินดูที่กลาวกันว่าสวยงามและสูงที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในชวากลาง ส่วนศาสนาอิสลามนั้นแม้ว่าจะเข้าสู่ทางเหนือของเกาะสุมาตรามาตั้งแต่ยุคต้นของศาสนาอิสลามราวศตวรรษที่ 8 แต่อิสลามขยายตัวในอินโดนีเซียอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 400 ปีระหว่าง ค.ศ.1200 – ค.ศ.1600 โดยพ่อค้าชาวอาหรับ เปอร์เซีย อินเดียและจีน การเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่เกาะอินโดนีเซียเริ่มขึ้นในหมู่ผู้นำท้องถิ่น และชนชั้นสูง (กษัตริย์) ทำให้ประชาชนนับถือตาม นอกจากนั้นมีการเผยแผ่ศาสนาอิสลามโดยการแต่งงานกับผู้หญิงท้องถิ่น และจากการทำงานเผยแผ่ของนักบุญที่รู้จักในนามว่า วาลี โซโง (Wali Songo) แม้กระทั่งผ่านมหรสพ เช่น การเล่นวายัง (หนังตลุง) อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ในเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียขณะนั้น ยังคงนับถือและบูชาผีบรรพบุรุษ (Nenek Moyang) น่าแปลกที่ว่าศาสนาอิสลามเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันชาวอินโดนีเซียเกือบร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม และอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก นอกจากศาสนาอิสลาม พุทธและฮินดูแล้ว ศาสนาคริสต์ก็มีผู้นับถือในอินโดนีเซียจำนวนไม่ใช่น้อย ศาสนาคริสต์เข้าสู่หมู่เกาะอินโดนีเซียในราวศตวรรษที่ 16 โดยมาพร้อมกับนักเดินเรือชาติตะวันตก ปัจจุบันศาสนาคริสต์ทั้งนิกายคาธอลิคและนิกายโปรเตสแตนท์ นับถือมากที่สุดเป็นอันดับ 2 คิดเป็นจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 20 ล้านคน ในจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบ 250 ล้านคนของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (โปรดอ่านต่อตอนจบ) รูปประกอบ 2-1 กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย
คำว่า นูซันตารา (Nusantara) นี้ปรากฏครั้งแรกในคำสาบาน ซุมปาห์ ปาลาปา (Sumpah Palapa: AD 1336 /พ.ศ. 1879) โดยแม่ทัพและอัครมหาเสนาบดีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตนามว่า คชมาดา (Gajah Mada) ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ได้พบหลักฐานเพิ่มขึ้นอีกมาก เมื่อพบว่า Nusantara เป็นคำพ้องความหมายกับคำที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1275 (พ.ศ. 1818) ในสมัยรัฐบาลสิงหสาหรี (Singasari) ซึ่งสมัยนั้นเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า จักรวาลา มณฑลา ทวิปันตารา (Cakravala Mandala Dvipantara) ซึ่งถ้าเทียบความหมายก็จะตรงกันกับคำว่า Nusantara ซึ่งแปลว่า ท่ามกลางเกาะต่างๆ (The islands in between) ตั้งแต่ ค.ศ. 1512 (พ.ศ. 2055) หมู่เกาะแถบนี้ได้เข้าสู่วังวนทางการค้าเครื่องเทศกับประเทศตะวันตก ในปี ค.ศ. 1850 (พ.ศ. 2393) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษชื่อ จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ล (George Windsor Earl) เป็นคนแรกที่เสนอชื่อเรียกคนพื้นเมืองของหมู่เกาะนี้ว่า Indunesians และ Malayunesians ต่อมาลูกศิษย์ของท่านเอิร์ลชื่อ เจมส์ ริชาร์ดสัน โลแกน (James Richardson Logan) ได้เรียกชื่อหมู่เกาะนี้ว่า Indonesia แปลว่า หมู่เกาะอินเดีย ภายหลัง ค.ศ.1900 ชื่ออินโดนีเซียแพร่หลายมากขึ้น เมื่อนายอดอล์ฟ บาสเตียน (Adolf Bastian) นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี เขียนชื่อเรียก ‘อินโดนีเซีย’ เป็นภาษาเยอรมันในหนังสือชื่อ Indonesien oder die Inseln des Malayischen Archipels, 1884–1894 (อินโดนีเซียและเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะมลายู ค.ศ. 1884 – ค.ศ.1894) โปรดสังเกตว่า เขาเรียกชื่อ ‘อินโดนีเซีย’ เป็นชื่อเอกเทศ และว่าอยู่ในหมู่เกาะมลายู ชาวอินโดนีเซียคนแรกที่ใช้ชื่อ ‘อินโดนีเซีย’ เรียกชื่อประเทศของตนคือ นายสุวาร์ดี สุรยานิงรัต (Suwardi Suryaningrat หรือ Ki Hajar Dewantara) เมื่อเขาตั้งสำนักข่าวชื่อ Indonesisch Persbureau (สำนักข่าวอินโดนีเซีย) เมื่อ ค.ศ. 1913 (พ.ศ. 2456) ขณะที่เขายังอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดัตช์ (ฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์) เองกลับไม่ยอมรับชื่อนี้ แต่ใช้ชื่อเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า หมู่เกาะมลายู (Malay Archopelago) เรียกในภาษาดัตช์ว่า Maleische Archipel หมู่เกาะนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของดัตช์โดยเด็ดขาดในต้นศตวรรษที่ 20 ผลพวงของสงครามโลกครั้งที่ 2 และการยึดครองของญึ่ปุ่น มีส่วนทำให้ซูการ์โน (Soekarno) ซึ่งได้จัดตั้งขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชเมื่อ 17 สิงหาคม 1945 (พ.ศ. 2488) กระนั้นกว่าฮอลันดาจะยอมมอบเอกราชให้ก็ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก 4 ปี โดยฮอลันดาได้มอบเอกราชให้อินโดนีเซียอย่างเป็นทางการเมื่อ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียจัดฉลองเอกราชของตนทุกวันที่ 17 สิงหาคมของทุกปี ภูมิหลังมาเลเซีย คำว่า มาเลเซีย (Malaysia) มาจากคำว่า มาเลย์ (Malay) ซึ่งเป็นรูปคำภาษาอังกฤษของคำว่า มลายู (Melayu) เดิมคำว่า Malaysia เป็นคำ 3 คำที่นักเดินเรือชาวฝรั่งเศสชื่อ จูลส์ ดูม็องต์ ดูร์วิยล์ (Jules Dumont d'Urville) ประดิษฐ์ขึ้นระหว่างการเดินเรือของเขาในปี 1826 (พ.ศ. 2369) ได้แก่คำว่า Malaysia, Micronesia และ Melanesia เพื่อจำแนกกลุ่มคนและวัฒนธรรมในหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีลักษณะ ‘ต่าง’ กับกลุ่มโปลีนีเซีย (Polynesia) ซึ่งเป็นคำที่มีใช้กันอยู่แล้วในขณะนั้น ในปี ค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) ดูมองต์ได้เสนอคำเรียกเหล่านี้ต่อสมาคมภูมิศาสตร์ (Société de Géographie) แห่งฝรั่งเศส โดยดูม็องต์ ได้อธิบายในส่วนของคำว่า Malaysia ว่า “พื้นที่ที่รู้จักกันทั่วไปในนามว่า อีสต์ อินดีส์ หรืออินเดียตะวันออก” (an area commonly known as the East Indies) ต่อมาในปี ค.ศ. 1850 นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษนามว่า จอร์จ แซมมวล วินด์เซอร์ เอิร์ล ได้เขียนบทความลงใน The Journal of the Indian Archipelago and Eastern Asia ได้เสนอชื่อเรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า Melayunesia หรือ Indunesia พร้อมกับแสดงความคิดเห็นประกอบ ว่าตนชอบคำแรกหรือคำว่า Melayunesia (หมู่เกาะมลายู) มากกว่าอีกคำที่เสนอไปด้วย คือคำว่า Indunesia (หมู่เกาะอินเดีย) มาเลเซียได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) เรียกชื่อว่า สหพันธรัฐมลายา (The Federation of Malaya) ต่อมาเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ.1963 (พ.ศ. 2506) สิงคโปร์และบางส่วนของเกาะบอร์เนียว คือบอร์เนียวเหนือ (ซาบาห์) และซาราวัก ได้เข้ารวมกับสหพันธรัฐมลายา จึงเปลี่ยนเป็นชื่อว่า Malaysia ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เพียงไม่ถึงสองปีดี ในปี ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) มาเลเซียของให้สิงคโปร์แยกตัวออกไป นายลีกวนยูถึงกับเศร้าใจมาก ในที่สุดสิงคโปร์ก็แยกตัวกลายเป็นประเทศใหม่ มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) ที่น่าสนใจก็คือ ก่อนที่จะมีการเสนอชื่อ Malaysia ได้มีการเสนอชื่ออื่นๆ อีกหลายชื่อ รวมทั้งชื่อ ลังกาสุกะ (Langkasuka) ซึ่งเป็นชื่อเรียกอาณาจักรเก่าแก่ของปัตตานี กำเนิดในศตวรรษที่ 1 และรุ่งเรืองในระหว่างศตวรรษที่ 2-15 จากเอกสารชื่อ “ตารีค ปาตานี” (Tarikh Patani) ได้ระบุว่า กษัตริย์ศรีวิชัยเคยประทับที่ลังกาสุกะ (ปัตตานี) มาก่อน ก่อนที่จะย้ายไปประทับที่สุราษฎร์ธานี (ไชยา) จึงกล่าวได้ว่า ลังกาสุกะเคยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย ก่อนที่ลังกาสุกะจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) จากเกาะชวา ระหว่าง ค.ศ. 1293 – ประมาณ ค.ศ. 1500 (พ.ศ. 1836 - ประมาณ พ.ศ. 2043) ต่อมาลังกาสุกะเสื่อมโทรมลง ผู้ครองนครรุ่นหลังย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่บนแหลมตันหยงลูโละ ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จ.ปัตตานี อีกเรื่องที่น่าสนใจ ในห้วงเวลาเดียวกันนี้ นักการเมืองและชนชั้นนำของฟิลิปปินส์เองก็กำลังถกเถียงกันที่จะใช้ชื่อ Malaysia เป็นชื่อประเทศของตนแทนชื่อ ฟิลิปปินส์ (Philippines) ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากพระนามของพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งสเปน (King Philip II of Spain) เพราะผู้นำและปัญญาชนฟิลิปปินส์ในสมัยนั้นเชื่อว่า ชาวฟิลิปปินส์มีเชื้อสายมลายู หรือมาลายัน (Malayan) แม้แต่โฮเซ่ ริซัล (Jose Rizal) นักเขียนและวีรบุรุษชาวฟิลิปปิโนก็เชื่อว่าตนเป็นคนมลายู
2-2 Candi Borobudur มหาเจดีย์ในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในชวากลาง ศาสนาพุทธ ฮินดู และอิสลาม เดิมทีนั้นประชากรในหมู่เกาะนูซันตาราส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาฮินดูควบคู่กันมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 อันเป็นช่วงเดียวกับที่อาณาจักรลังกาสุกะที่ปัตตานีและเคดะห์กำเนิดขึ้น ช่วงเวลาที่รุ่งเรืองที่สุดของอินโดนีเซียเกิดขึ้นในสมัยที่หมู่เกาะอินโดนีเซียมีกษัตริย์นับถือศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู กล่าวคือในสมัยของอาณาจักรศรีวิชัย สมัยราชวงศ์ไศเลนทร์บนเกาะชวา ได้สร้างมหาเจดีย์โบโรบูดูร์ (Candi Borobudur) ในราวปี ค.ศ.760 – ค.ศ.830 (พ.ศ.1303- พ.ศ.1373) ในรัชสมัยของพระเจ้าสมาระตุงคะ (Samaratungga) อันเป็นช่วงที่ราชวงศ์ไศเลนทร์ (Sailendra) บนเกาะชวารุ่งเรืองถึงขีดสุด อีกช่วงหนึ่งที่นูซันตารารุงเรืองถึงขีดสุด อยู่ในรัชสมัยพระเจ้าโลกบาล (King Lokapala) และบาลีตุงมหาสัมภู (Balitung Maha Sambu) แห่งราชวงศ์สัญชยะ (Sanjaya) จากอาณาจักรมาตารัม (Mataram) ในราว ค.ศ. 950 (พ.ศ.1993) โดยพระองค์ทรงปฏิสังขรณ์กลุ่มเจดีย์ปรัมบานัน (Candi Prambanan) หรือจันทรารา จงกรัง (Candi Rara Jonggrang) ซึ่งเป็นกลุ่มเจดีย์ในศาสนาฮินดูที่กล่าวกันว่า สวยและสูงที่สุดในโลก เริ่มสร้างในปี ค.ศ.850 (พ.ศ.1393)
2-3 Candi Prambanan กลุ่มเจดีย์ในศาสนาฮินดูที่กลาวกันว่าสวยงามและสูงที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในชวากลาง ส่วนศาสนาอิสลามนั้นแม้ว่าจะเข้าสู่ทางเหนือของเกาะสุมาตรามาตั้งแต่ยุคต้นของศาสนาอิสลามราวศตวรรษที่ 8 แต่อิสลามขยายตัวในอินโดนีเซียอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 400 ปีระหว่าง ค.ศ.1200 – ค.ศ.1600 โดยพ่อค้าชาวอาหรับ เปอร์เซีย อินเดียและจีน การเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่เกาะอินโดนีเซียเริ่มขึ้นในหมู่ผู้นำท้องถิ่น และชนชั้นสูง (กษัตริย์) ทำให้ประชาชนนับถือตาม นอกจากนั้นมีการเผยแผ่ศาสนาอิสลามโดยการแต่งงานกับผู้หญิงท้องถิ่น และจากการทำงานเผยแผ่ของนักบุญที่รู้จักในนามว่า วาลี โซโง (Wali Songo) แม้กระทั่งผ่านมหรสพ เช่น การเล่นวายัง (หนังตลุง) อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ในเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียขณะนั้น ยังคงนับถือและบูชาผีบรรพบุรุษ (Nenek Moyang) น่าแปลกที่ว่าศาสนาอิสลามเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันชาวอินโดนีเซียเกือบร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม และอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก นอกจากศาสนาอิสลาม พุทธและฮินดูแล้ว ศาสนาคริสต์ก็มีผู้นับถือในอินโดนีเซียจำนวนไม่ใช่น้อย ศาสนาคริสต์เข้าสู่หมู่เกาะอินโดนีเซียในราวศตวรรษที่ 16 โดยมาพร้อมกับนักเดินเรือชาติตะวันตก ปัจจุบันศาสนาคริสต์ทั้งนิกายคาธอลิคและนิกายโปรเตสแตนท์ นับถือมากที่สุดเป็นอันดับ 2 คิดเป็นจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 20 ล้านคน ในจำนวนประชากรทั้งหมดเกือบ 250 ล้านคนของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (โปรดอ่านต่อตอนจบ) รูปประกอบ 2-1 กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย